บทที่ 11.Stop Loss Setting

2 พฤษภาคม 2022
karis

บทที่ 11.Stop Loss Setting

หยุดการขาดทุน
Stop Loss Setting

การเสียนั้นไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมว่าเราควรจะทำอย่างไรถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นได้ และคุณสามารถตัดการขาดทุนของคุณได้อย่างรวดเร็วแทนที่จะถือมันไปแล้วจะรอมันกลับมา การตัดสินใจจุดออกไว้ก่อน ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณสามารถหยุดขาดทุนไว้ แต่ยังให้คุณมีโอกาสเทรดใหม่ครั้งต่อไป และกำจัดความเครียดของคุณได้ จากการเทรดโดยไม่อิงแผนการเทรด เราจะพูดถึงการตั้ง Stop loss วิธี

ต่าง ๆ มี 4 ขั้นตอนการตั้ง Stop loss ที่ควรใช้คือ :

  1. Equity stop
  2. Volatility stop
  3. Chart stop
  4. Time stop
23 December 2011 Daily Forecast Friday , 4:55 pm EUR/USD Trading range: 1.3050 – 1.3155 Trend: Upward Buy at 1.3064 SL 1.3032 TP 1.3141 USD/JPY Trading range: 78.25 – 77.35 Trend: Downward Sell at 78.13 SL 78.45 TP 77.41 GBP/USD Trading range: 1.5670 – 1.5780 Trend: Upward Buy at 1.5682 SL 1.5650 TP 1.5770 USD/CHF Trading range: 0.9365 – 0.9260 Trend: Downward Sell at 0.9354 SL 0.9386 TP 0.9270

1.Equity Stop

Equity Stop หรือ จุดหยุดขาดทุนตามต้นทุน

ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อ คือ เปอร์เซ็นต์ Stop เพราะว่า มันวัดจากขนาดของบัญชีของเทรดเดอร์ สมมุติว่า 2 % ซึ่งเทรดเดอร์อยากจะเสี่ยงในการเทรด เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงสามารถเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่เทรดเดอร์ว่า อาจจะน้อยหน่อย หรือมากหน่อย ซึ่งอาจจะถึง 10 % ของบัญชีของพวกเขา หรือบางคนอาจจะใช้ 2 % จากเทรดเพียง หนึ่งครั้งเมื่อเราคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ เทรดเดอร์จะใช้ ขนาดของออร์เดอร์ในการคำนวณว่า เขาควรจะตั้งจุด Stop loss เท่าไหร่ดี

แต่จริงๆแล้วเราควรจะจะต้องตั้ง Stop loss ตามสภาพตลาด หรือ ตามระบบเทรดของคุณ ไม่ใช่ว่าตั้งตามคุณควรจะเสียเท่าไหร

จากตัวอย่างของมือใหม่ นาย fx มีบัญชี Mini Account ด้วยเงิน 500 เหรียญ และ Lot น้อยที่สุดที่เค้าเทรดได้คือ 10k ผม ตัดสินใจ เทรด GBP/USD เพราะเขาเห็นว่า แนวต้านที่ราคา 1.5620 เป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง ตามการจัดการความเสี่ยงของเขา นาย fx เลือกจะเสี่ยงที่ 2 % ต่อการเทรด 1 ครั้ง ที่จานวน 10k ของค่าเงิน GBP/USD แต่ละจุดนั้นมีค่า 1 เหรียญ ซึ่ง 2 % ของบัญชีเขาเท่ากับ 10 เหรียญ ดังนั้น Stop Loss ของ นาย fx ต้องเท่ากับ 10 จุดซึ่งจุด Stop loss ของเขาคือ 1.5630

แต่ GBP/USD เคลื่อนไหวมากกว่า 100 จุดต่อวัน เขาอาจจะโดน Stop loss ได้ทุกเมื่อ มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้

ออร์เดอร์ของ นาย fx ชน Stop loss ไม่นานจากนั้น เพราะว่า มันแคบเกิดไป

คุณจะเห็นความอันตรายของการใช้ Equity Stop ที่ตั้งตามอำเภอใจ โดยไม่มีเหตุผล

การแก้ปัญหานี้สาหรับ นาย fx คือการหาโบรคเกอร์ที่เหมาะกับ Style การเทรดของเขา และเงินทุนเริ่มต้นที่เหมาะสม

ในกรณีนี้ นาย fx ควรจะเทรดด้วยโบรคเกอร์ที่ให้เขาเทรดบัญชี Micro หรือว่า ประมาณ 1k lot ค่าเงิน GBP/USD ซึ่งแต่ละจุดมีมูลค่าจุดละ 10 เซ็นต์ เพื่อให้ นาย fx ไม่รู้สึกกดดันเกี่ยวกับความเสี่ย เขาก็จะสามารถตั้ง Stop loss ค่าเงิน GBP/USD ที่ 100 จุด เพื่อความเสี่ยงในบัญชีของเขา 2 % และเขาก็จะสามารถตั้ง Stop loss ตามสภาพตลาดได้ด้วย ตามระบบเทรดและตามแนวต้านที่เขาคิดไว้

2.Volatility Stop

Volatility หรือความผันผวน นั้นคือความเคลื่อนไหวของตลาดที่อาจจะเคลื่อนไหวในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งได้

การรู้ว่า ค่าเงินจะเคลื่อนไหวประมาณเท่าไหร่จะช่วยคุณตั้ง Stop Loss ได้อย่างถูกต้องและหลีเลี่ยงการถูก Stop loss ก่อนเวลาควรจะเป็น

ถ้าคุณเล่นแบบ Swing Trade และคุณรู้ว่า EUR/USD นั้นเคลื่อนไหวอยู่ราว ๆ 100 จุดต่อวัน ภายในเดือนที่ผ่านมา คุณตั้ง Stop loss ที่ 20 จุด อาจจะชน Stop Loss อย่างรวดเร็ว เพียงเพราะมันแกว่งตัวเพียงนิดหน่อย

การรู้ค่าความผันผวนเฉลี่ยจะช่วยคุณตั้งจุด Stop Loss ในใจของคุณไว้แล้ว ทำให้ออร์เดอร์ของคุณมีช่องหายใจอยู่บ้าง

วิธีหนึ่งที่จะวัดความผันผวนได้คือ การใช้ Bollinger Band เพื่อให้คุณรู้ว่าตลาดนั้นผันผวนขนาดไหน ซึ่งเหมาะกับการเทรดที่อาศัยการแกว่งตัวของราคา โดยการตั้ง Stop Loss นอกเส้น ถ้าราคาถึงจุดนั้น หมายความว่าความผันผวนเริ่มสูงและเราสามารถเทรด Break out ได้

อีกวิธีในการหาค่าความผันผวนเฉลี่ยคือการใช้ Average True Range (ATR) indicator ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว และยังใช้ง่าย ATR นั้นคุณต้องใส่จำนวนของแท่งเทียนเข้าไป หรือเวลาทั้งหมดที่คุณต้องการใช้คำนวณค่าเฉลี่ย

ตัวอย่างถ้าคุณกำลังใช้กราฟ Day และคุณใส่ค่า 20 ลงไป ดังนั้นเครื่องมือ ATR จะคำนวณ 20 วันย้อนหลังให้ หรือถ้าคุณใช้กราฟ ชั่วโมงอยู่ คุณใส่ค่า 50 ลงไป นั่นก็คือ การคำนวณค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 50 ชั่วโมง ไม่ยากเลย

3.Chart Stop

Chart Stop คืออีกวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง คือการตั้ง Stop Loss ตาม สิ่งที่กราฟบอก สิ่งหนึ่งที่เรารู้คือพฤติกรรมราคา ซึ่งจะมีจุดที่ราคานั้นจะเคลื่อนไหวอยู่จุดใดจุดหนึ่งแน่นอน และบ่อยครั้ง ที่มันจะเคลื่อนไหวอยู่แถวแนวรับแนวต้าน หรือ มีการทดสอบแนวรับแนวต้าน บางครั้งก็อาจจะทะลุไปเฉย ๆ

การตั้ง Stop loss ให้ห่างจากแนวพวกนี้หน่อย จะเป็นการดี เพราะว่า ถ้าตลาดนั้นมีการเทรดอยู่ในพื้นที่นี้

และ เวลาที่มันเกิดจุด Break out จุดนั้นเทรดเดอร์ก็จะต้องปิดออร์เดอร์เพราะมีคนเข้ามาเทรดเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาเคลื่อนไหวตรงข้ามกับออร์เดอร์ของคุณ หรือ ถ้ามันเกิดจุด Break out มันอาจจะเกิดขึ้นทันทีทันใด ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เรามาดูตัวอย่างการตั้ง Stop Loss ตามแนวรับแนวต้านกัน

ตามกราฟข้างบน เราจะเห็นว่าค่าเงินนั้นเทรดอยู่ข้างบนเส้นเทรนด์ไลน์

คุณเลยตัดสินใจว่า คุณจะส่งออร์เดอร์ Buy

แต่ก่อนที่คุณจะเทรด ต้องถามตัวเองตามคาถามต่อไปนี้ก่อน : คุณจะตั้ง Stop Loss ที่ไหน?

ใน กรณีนี้ เราควรจะต้อง Stop Loss ให้ต่ำกว่าเส้นเทรดไลน์ และ เส้นแนวรับ ถ้าตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในบริเวณนี้ หมายความว่า Trend line นั้นไม่มีคนซื้อมารองรับ และฝั่ง ผู้ขายกาลังครอบงำตลาด และคุณควรจะออกจากการเทรด และยอมรับการขาดทุน

4.Time Stop

Time stops ก็คือ คุณตัดสินใจไว้ก่อนว่า คุณจะออกจากการเทรดเวลาไหน ซึ่งสามารถตั้งเวลาได้ เป็น วัน เป็น สัปดาห์ เป็น ชั่วโมง

สมมุติว่าคุณ เทรดแบบ นักเทรดรายวัน และคุณพึ่งส่งออร์เดอร์ Long ค่าเงิน EUR/CHF และมันยังไม่เคลื่อนไหวไปไหน! ทำไมเราต้องมาจมอยู่อย่างนี้ เมื่อเราสามารถใช้ความได้เปรียบในการตั้งเวลากับมันได้ ดังนั้นการใช้ Stop loss แบบตั้งเวลา ทำให้เรามีโอกาสในการทำกำไรครั้งต่อไป

ข้อผิดพลาดในการใช้ Stop loss ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ

ข้อผิดพลาดของเทรดเดอร์ในการใช้ Stop loss ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการฝึก การจัดการการเงินที่ดี แต่ว่าถ้าคุณใช้มันไม่ถูกต้อง มันอาจจะทำให้คุณเสียมากกว่าได้กำไร และคุณคงไม่อยากให้มันเกิดใช่ไหม?

1.การตั้ง Stop loss แคบเกินไป

ก็คือการตั้ง Stop Loss แคบเกินไป และทำให้ไม่มีช่องให้มันราคามันสวิงเลย

2.การใช้ ขนาดของ ออร์เดอร์เป็นเกณฑ์ Stop Loss

การใช้ ขนาดของออร์เดอร์มากำหนดว่า เราควรจะต้อง Stop Loss ตรงจุดไหนนั้นไม่เหมาะสมกับการเทรดในตลาด เพราะว่า เราเทรดในตลาด เราก็ควรจะใช้การเคลื่อนไหวของตลาดตั้ง Stop Loss

เราไม่ได้บอกว่า ให้คุณลืมเรื่องการใช้ การกำหนดขนาดออร์เดอร์ไปเลย สิ่งที่เราแนะนำคือ คุณควรกำหนด Stop Loss ก่อนที่จะคำนวณขนาดของออร์เดอร์

3.การตั้ง Stop Loss ไกลเกินไป

การตั้ง Stop Loss ห่างเกินไปทำให้เพิ่มจำนวนที่ต้องทำกำไรเยอะ เพื่อให้คุ้มค่าที่จะเสี่ยง

กฏทั่วไปในการตั้ง Stop Loss คือ ตั้งให้ใกล้กว่าจุดเข้ามากกว่า จุดทำกำไร

4.ตั้ง Stop Loss บนเส้น แนวรับแนวต้านเลย

การตั้ง Stop Loss แคบเกินไป ไม่ดีใช่ไหม การตั้ง Stop loss กว้างไปก็ไม่ดีอีก

การตั้ง Stop Loss ใกล้กับ แนวรับแนวต้านเป็น Stop Loss ที่เหมาะสม ไม่ใกล้ และไกลเกินไป

ถ้าคุณ กาลังจะ Buy คุณเพียง หาจุด Stop Loss แถว ๆ แนวรับ และตั้ง Stop loss ข้างล่างนั้นหน่อยนึง

ถ้าคุณ กาลังจะ Sell คุณก็หาจุด Stop Loss ให้เหนือแนวต้านไปนิดหน่อย

แล้วทำไมเราไม่ตั้งให้มันตรงกับแนวรับแนวต้านมันไปเลย? เหตุผลก็คือ ราคายังคงมีโอกาสกลับมาชนกับแนวรับแนวต้านอยู่ ถ้าคุณ ต้อง Stop Loss ใกล้ หรืออยู่บนนั้น มันก็อาจจะชน Stop Loss แต่ถ้าคุณ ตั้งเลยจากนั้นไปซักหน่อย ถ้ามันทะลุขึ้นมาหมายความว่าคุณวิเคราะห์ทิศทางราคาผิด

กฎการตั้ง Stop Loss

1. อย่าปล่อยให้อารมณ์มาครอบงำในการเคลื่อนย้าย Stop Loss การปรับ Stop Loss ของคุณ ควรมีการตัดสินใจไว้ก่อน ก่อนที่คุณจะเทรด อย่าร้อนรนย้าย !

2. ตั้ง Trailing Stop หมายความว่า ให้คุณย้าย ตามทิศทางที่ราคาเป็นไปตามอย่างที่คุณคิด หรือ ได้กำไร ซึ่งทำให้คุณได้กำไรแน่นอน และจัดการความเสี่ยงได้ดี ถ้าคุณอยากเปิดออร์เดอร์เพิ่ม

3. อย่า เพิ่ม Stop Loss การเพิ่ม Stop Los จะทำให้ความเสี่ยงและปริมาณการสูญเสียของคุณเพิ่มขึ้น ถ้าตลาดนั้นเคลื่อนไหวชน Stop Lossหมายความว่า ออร์เดอร์ของคุณควรจะปิด แล้วค่อยรอโอกาสต่อไป การย้าย Stop Loss ไม่ต่างอะไรกับการไม่มี Stop Loss ฉะนั้น อย่าขยาย Stop Loss ของคุณเด็ดขาด

อ่านบทความ Forex Professional ทั้งหมด

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)