Ichimoku Kinko Hyo Indicator ก้อนเมฆ ติดตามแนวโน้ม

28 พฤษภาคม 2022
miso435

Ichimoku Kinko Hyo Indicator ก้อนเมฆ ติดตามแนวโน้ม

Ichimoku Kinko Hyo หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่า Ichimoku Cloud เพราะ มันมีลักษณะเหมือนก้อนเมฆ ลอยอยู่บนกราฟ Ichimoku Kinko Hyo เป็น Indicator ที่สามารถนำเอาไปใช้ได้หลายอย่าง เช่น ระบุแนวรับ-แนวต้าน ยืนยันทิศทางของราคา วิเคราะห์กำลังของแนวโน้ม และยังใช้เป็นตัวให้สัญญาณในการเข้าเทรดได้อีกด้วย

Ichimoku Kinko Hyo Indicator ถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดย Goichi Hosoda เป็น นักข่าวชาวญี่ปุ่น เขาใช้เวลากว่า 30 ปี ในการปรับปรุงเทคนิคนี้ของเขาให้สมบูรณ์ก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะในช่วงราว ค.ศ.1960

ส่วนประกอบของ Ichimoku Kinko Hyo

Ichimoku Kinko Hyo จะมีลักษณะเป็น เส้นกราฟิกจำนวนมากที่ประกอบกันเป็นอินดิเคเตอร์  ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ มีส่วนช่วยให้เราสามารถระบุว่า แนวรับ แนวต้าน อยู่ที่บริเวณใด และจะมีส่วนที่บอกว่า ตลาดมีแนวโน้มเป็นอย่างไร ดังที่จะได้อธิบายต่อไปนี้

Tenkan-Sen หรือเส้น “Fast Line” ทำหน้าที่ระบุสัญญาณเทรด แนวโน้มระยะสั้น

Kijun-Sen  หรือเส้น “Slow Line” ทำหน้าที่ระบุสัญญาณเทรด แนวโน้มระยะกลาง

ซึ่งทั้ง 2 เส้นนี้ จะใช้แนวคิดเดียวกันกับ Moving Average คือใช้ระบุแนวโน้มก็ต่อเมื่อ Tenkan-Sen  มีการตัดกัน กับ  Kijun-Sen   ถ้าหาก Tenkan ที่เพิ่งตัดเหนือ Kijun-Sen ขึ้นไป ก็เปรียบเสมือนเส้นค่าเฉลี่ยที่ตัดขึ้น และสะท้อนภาพ แนวโน้มขาขึ้น ในระยะสั้น  และ ในทางตรงกันข้าม หาก Tenkan ที่เพิ่งตัด Kijun-Sen ลงมาด้านล่าง ก็เปรียบเสมือนเส้นค่าเฉลี่ยที่ตัดลง และสะท้อนภาพ แนวโน้มขาลง ในระยะสั้น

 Chikou Span  คือ เส้นที่แสดงการเคลื่อนไหวของราคาในระยะยาว จะเป็นตัวคุมภาพรวมในการเทรดระยะสั้นทั้งหมดในช่วง 26 แท่งเทียนที่ผ่านมา (เราสามารถปรับวันเป็นจำนวนวันอย่างอื่นได้)   วิธีการอ่านค่า Chikou span คือให้โฟกัสที่เส้น Chikou span เป็นหลักเลยว่า มันอยู่เหนือราคาหรือใต้ราคา

ถ้า Chikou span อยู่สูงกว่าราคา แสดงว่า ระยะยาว ยังอยู่ในโซน Bullish

ถ้า Chikou span อยู่ต่ำกว่าราคา ระยะยาว ยังอยู่ในโซน Bearish

Kumo หรือ “ก้อนเมฆ” 

เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการใช้ Ichimoku Kinko Hyo ซึ่งจะแบ่งเป็น Up Kumo กับ Down Kumo โดยหน้าที่หลักของ Kumo คือการระบุแนวโน้ม

– ถ้า Up Kumo อยู่เหนือ Down Kumo แนวโน้มจะเป็นขาขึ้น (หรือดูว่าเป็นก้อนเมฆสีของ Up Komo)

– ถ้า Up Kumo อยู่ใต้ Down Kumo แนวโน้มจะเป็นขาลง (หรือดูว่าเป็นก้อนเมฆสีของ Down Komo)

– ถ้าก้อนเมฆวิ่งตัดกลับไปกลับมา หรือ ราคาวิ่งมาพันกับแนวก้อนเมฆ แสดงว่า สภาวะแบบนี้คือช่วงที่ตลาดเป็น Sideways

– ถ้าก้อนเมฆ “แคบ” = ช่วงที่ตลาดมีความผันผวนน้อย

– ถ้าก้อนเมฆ “กว้าง” = ก็คือช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมาก โดยหลักการนี้จะคล้ายกับแนวคิดของ Bollinger Bands

ข่าวฟอเร็กซ์และสกุลเงิน
บทความ
ฟรีซิกแนล
เฟสบุ๊ค
แอดไลน์