เงินเฟ้อสหรัฐฯ ผ่านจุดสูงสุดแล้วหรือยัง? และสำคัญอย่างไร

16 พฤศจิกายน 2022
siripakan

เงินเฟ้อสหรัฐฯ ผ่านจุดสูงสุดแล้วหรือยัง? และสำคัญอย่างไร

เงินเฟ้อสหรัฐฯ ผ่านจุดสูงสุดแล้วหรือยัง? และสำคัญอย่างไร

สาเหตุหนึ่งที่นักลงทุนอยากรู้ว่าเงินเฟ้อ นั้นได้ผ่านจุดสูงสุดของช่วงขาขึ้นไปแล้วหรือไม่ เป็นเพราะสถิติผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P500 และการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในช่วงปี 1928-2021 ที่รวบรวมโดย NYU Stern School of Business นั้นชี้ให้เห็นว่าบ่อยครั้งที่เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดของวัฏจักรขาขึ้นไปแล้ว มักจะเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าลงทุนในหุ้น เช่น

  • ปี 1942 เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด ณ เดือน พ.ค. 1942 ที่ +13.2% ดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทน 19.17% ในปีนั้น (จากปีก่อนหน้าที่ให้ผลตอบแทน -12.77%)

  • ปี 1975 เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด ณ เดือน ธ.ค. ของปีก่อนหน้า ที่ +12.3% ดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทน +37.00% ในปีนั้น (จากปีก่อนหน้าที่ให้ผลตอบแทน -15.90%)

  • ปี 1980 เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด ณ เดือน มี.ค. 1980 ที่ +14.8% ดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทน 31.74% ในปีนั้น (จากปีก่อนหน้าที่ให้ผลตอบแทน +18.52%)

  • ปี 1991 เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด ณ เดือน พ.ย. ของปีก่อนหน้า ที่ +6.3% ดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทน +30.23% ในปีนั้น (จากปีก่อนหน้าที่ให้ผลตอบแทน -3.06%)

เหตุผลเบื้องหลังความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของตลาดหุ้นกับเงินเฟ้อขาลงนั้น เป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้นมักจะปรับลงเข้าสู่วัฏจักรขาลงเมื่อเงินเฟ้อเริ่มลดลงแล้วนั่นเอง ซึ่งดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้เงินทุนไหลไปหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าอย่างตลาดหุ้น ประกอบกับต้นทุนทางการเงินในการประกอบธุรกิจที่ถูกลง ก็จะช่วยให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นมีแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้นด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมนักลงทุนจึงให้ความสำคัญกับตัวเลขเงินเฟ้อว่าจะปรับลงจากจุดสูงสุดเมื่อไร

ดอลลาร์วันนี้

ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ดิ่งลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน จากความคาดหวังว่าเงินเฟ้อ-สหรัฐฯ นั้นได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่มีความจำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงเหมือนที่ผ่านมา

แม้ว่านักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินการลงทุนหลายแห่งจะมีความเห็นในลักษณะคล้ายกันว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วหรือกำลังจะผ่านพ้นไปในเร็วๆ นี้ แต่ระดับเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบันยังคงสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อระยะยาวของ Fed ที่ตั้งไว้ที่ 2% ซึ่งอยู่สูงกว่า 3 เท่าตัว

แต่ยังต้องรอดูข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ ประกอบด้วย โดย Fed ยังมีภารกิจที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อคุมเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย

การจะหาจุดสูงสุดของวัฏจักรเงินเฟ้อ หรือการจะหาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เช่นเดียวกับการหาจังหวะเวลาที่ดีที่สุดในการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่ในความเป็นจริงนั้นทำได้ยาก

ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องพิจารณาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน ไม่ควรลงทุนตามกระแสแบบทุ่มหมดหน้าตัก ซึ่งการแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนอย่างเหมาะสมในการลงทุนตามกลยุทธ์ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการลงทุนในระยะสั้น และได้ผลตอบแทนกลับมาในระยะกลาง-ระยะยาว

ดูคำศัพท์ทั่วไปทั้งหมด

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)

แจ้งใช้ SERVER-VPS ที่นี่