วิธีการเทรดในแนวรับและแนวต้าน

9 สิงหาคม 2022
kongpop

วิธีการเทรดในแนวรับและแนวต้าน

วิธีการเทรดในแนวรับและแนวต้าน

วิธีการเทรดในแนวรับและแนวต้าน ตอนนี้เมื่อเรารู้พื้นฐานของการซื้อขายด้วยแนวรับและแนวต้านแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะใช้เครื่องมือทางเทคนิคขั้นพื้นฐานพวก ที่มีประสิทธิภาพมากเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเข้าซื้อขาย

เราจึงแบ่งวิธี ใช้เส้นแนวรับและแนวต้านออกเป็นสองแนวคิดง่ายๆ: Bounce และ Break

The Bounce

การซื้อขายโดยแนวรับและแนวต้านหลังจากเกิด “Bounce”

เทรดเดอร์ forex รายย่อยส่วนใหญ่ทำพลาดในการตั้งออเดอร์ที่ระดับเส้นแนวรับและแนวต้าน จากนั้นเพียงแค่รอให้การเทรดของพวกเขาเกิดขึ้น

แน่นอนว่าวิธีนี้อาจใช้ได้ในบางครั้ง แต่เทคนิคซื้อขายประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ราคาอาจจะไม่ไปแตะแนวรับแนวต้านที่เราคาดไว้ตรงนั้นจริงๆ ก็ได้

คุณอาจจะคิดว่า “ทำไมไม่ตั้งออเดอร์ที่เส้นล่ะ? ด้วยวิธีนี้มั่นใจได้ว่าได้ในราคาที่ดีที่สุด”

เมื่อเล่นแบบวิธี Bounce เราต้องหาเส้นแนวรับแนวต้านของเราและหาตัวคอนเฟิร์มว่าเส้นที่เราตั้งไว้นั้นมีนัยยะสำคัญ

ตัวอย่างเช่น แทนที่จะเปิดหน้า Buy ทันที เราต้องการรอให้มันเด้งออกจาก “แนวรับ” ก่อนที่จะเข้า

หากเราต้องการที่จะเปิดหน้า short คุณต้องรอให้มันดีดตัวออก “แนวต้าน” ก่อนที่จะเข้า

ด้วยการทำเช่นนี้ เราสามารถหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่ราคาเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและทะลุผ่านแนวรับและแนวต้าน

The Break

ส่วนในโลกของการเทรดฟอเร็กซ์ที่สมบูรณ์แบบ เราสามารถเข้าและออกเมื่อใดก็ตามที่ราคาแตะระดับแนวรับและแนวต้านหลักเหล่านั้น และรับเงินจำนวนมาก

แต่ความจริงคือระดับเหล่านี้มักแตก…บ่อยครั้ง

ดังนั้น แค่วิธีเดียวไม่พอ เราควรต้องรู้ด้วยว่าต้องทำยังไง เมื่อหลุดเส้นแนวรับและแนวต้าน

มีสองวิธีในการเล่นแบบ “Break” : aggressive way หรือ conservative way

Aggressive Way

วิธีที่ง่ายที่สุดในการเล่นแบบเบรกเอ้าท์คือ การ buyหรือ sell เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ราคาผ่านแนวรับหรือแนวต้านแล้ว

เราต้องการให้ราคาทะลุผ่านก่อนจากนั้นค่อยเปิด Position

The Conservative Way

ลองนึกภาพสถานการณ์สมมตินี้: คุณตัดสินใจ ซื้อ EUR/USD โดยหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นหลังจากเด้งกลับจากระดับแนวรับ

หลังจากนั้นไม่นาน แนวรับก็โดนเบรก และตอนนี้กำลังอยู่ในสถานะที่ขาดทุน โดยยอดเงินในบัญชีของคุณจะค่อยๆ ลดลง

A: ยอมรับความพ่ายแพ้

หรือ…

B: ยึดมั่นทนถือต่อและหวังว่าราคาจะสูงขึ้น

หากคุณเลือกวิธีที่สอง คุณจะเข้าใจวิธีการซื้อขายประเภทนี้ได้ง่าย

โปรดจำไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณปิดโพซิชั่น คุณจะอยู่ในฝั่งตรงข้ามของการเทรด

ทำการปิดการซื้อขายคู่สกุลเงิน EUR/USD ที่ใกล้ต้นทุน และชอร์ต EUR/USD ในจำนวนเท่ากัน

ปรากฏการณ์นี้เป็นสาเหตุหลักว่าทำไมระดับแนวรับที่จุดนี้ จะกลายเป็นแนวต้านทันทีที่มันทะลุลงมา

อย่างที่คุณน่าจะเดาได้ การใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์นี้คือความอดทน

แทนที่จะเข้าเมื่อ break ให้รอให้ราคาทำการ “pull back” ไปที่แนวรับหรือแนวต้าน และเข้าหลังราคาเด้งกลับ

“คำเตือน” ใน FOREX สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา “RETESTS” เกี่ยวกับแนวรับและแนวต้าน จะมีหลายครั้งที่ราคาจะเคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้ามและเราจะตกรถ เราควรให้ใช้คำสั่งตั้งจุดขาดทุนเสมอ และไม่ควรถือต่อเพราะเรามีแค่ความหวัง

ดูคำศัพท์ทั่วไปทั้งหมด

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)

แจ้งใช้ SERVER-VPS ที่นี่