บทที่ 7. การหาจุดเข้าเทรดตามTime frame

2 พฤษภาคม 2022
karis

บทที่ 7. การหาจุดเข้าเทรดตามTime frame

การหาจุดเข้าเทรดตามTime frame

การวิเคราะห์โดยใช้หลายช่วงเวลา  เป็นกระบวนการแบบง่าย ๆ ในค่าเงินเดียวกัน และราคาเดียวกัน

แต่ว่าต่างช่วงเวลา (Time Frame ต่อไปนี้จะใช้คำนี้แทน) นักเทรดแต่ละคนสามารถมีความคิดเห็น

แตกต่างกันได้เพราะการเทรดค่าเงินค่าหนึ่งในต่าง Time Frame จุดนี้ทำให้เกิดปัญหา

บางครั้งทำให้เราสับสนเมื่อเราดูกราฟ 4 ชั่วโมง และเห็นว่าเป็นสัญญาณ Sell และพอกลับมาดูที่กราฟ ชั่วโมง

เห็นราคากาลังขึ้น เหตุผลหนึ่งที่นักเทรดหน้าใหม่ ไม่ค่อยได้ใส่ใจเพราะว่าพวกเขาเทรด Time Frame ไม่เหมาะกับลักษณะบุคลิกส่วนตัวของเขา

มือใหม่ อยากจะรวยเร็ว ๆ ดังนั้นพวกเขาจะเริ่มเทรด Time Frame เล็ก ๆ อย่างเช่น 1 นาที หรือว่า 5 นาที และพวกเขาเริ่มหงุดหงิดเมื่อพวกเขาเริ่มเทรดเพราะว่า Time Frame ไม่เหมาะสมกับลักษณะบุคลิกของเขา

23 December 2011 Daily Forecast Friday , 4:55 pm EUR/USD Trading range: 1.3050 – 1.3155 Trend: Upward Buy at 1.3064 SL 1.3032 TP 1.3141 USD/JPY Trading range: 78.25 – 77.35 Trend: Downward Sell at 78.13 SL 78.45 TP 77.41 GBP/USD Trading range: 1.5670 – 1.5780 Trend: Upward Buy at 1.5682 SL 1.5650 TP 1.5770 USD/CHF Trading range: 0.9365 – 0.9260 Trend: Downward Sell at 0.9354 SL 0.9386 TP 0.9270
  • สาหรับเทรดเดอร์บางคน พวกเขาจะรู้สึกดีกับการเทรด 1 ชั่วโมง Time frame นี้ยาวหน่อย แต่ว่า ไม่ได้ยาวมาก สัญญาณเทรดน้อยมาก แต่ก็ไม่น้อยเกินไป การเทรดใน Time Frame นี้ช่วยให้เรามีเวลาวิเคราะห์ตลาดมาก และไม่ต้องเร่งรีบ
  • คุณอาจจะกำลังถามตัวเองว่า Time Frame ไหนเหมาะสำหรับคุณ  ถ้าคุณตั้งใจ มันขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของคุณ คุณต้องรู้สึกสบายใจใน Time Frame ที่คุณเทรดอยู่
  • เมื่อคุณเริ่มเทรด เราไม่สามารถยึด Time Frame ใดได้ เราเริ่มเทรดด้วย กราฟ 15 นาที แล้วก็มาลอง 5 นาทีหลังจากนั้นเรามาลอง 1 ชั่วโมง และกราฟวัน และกราฟ 4 ชั่วโมง  จนกระทั่งคุณหาจุดที่คุณรู้สึกดี และ เราแนะนำให้คุณเทรด Demo ซะก่อนเพราะให้คุณได้ลอง Time Frame ต่าง ๆ กันซึ่งเหมาะกับบุคลิกภาพของคุณมากที่สุด
  • คุณต้องพิจารณาถึงจำนวนเงินของคุณที่จะใช้ในการเทรด
  • Time Frame ที่สั้น ๆ จะทาให้คุณใช้ มาร์จิ้นได้ดีกว่า และมี Stop loss ที่น้อยกว่า
  • ยิ่ง Time Frame ที่ยิ่งใหญ่ Stop Loss ก็ต้องกว้างไปตามตัว ดังนั้น ต้องใช้เงินค่อนข้างเยอะ เพื่อคุณสามารถควบคุมการแกว่งตัวของราคาได้ โดยไม่ล้างพอร์ทเอาซะก่อน
  • ก่อนที่เราจะอธิบายว่าจะใช้ Time Frame หลาย ๆ Time Frame ในการวิเคราะห์ได้อย่างไร เรารู้สึกว่า มันจำเป็นในการเรียนรู้ของคุณว่าทำไมคุณต้องดู Time Frame อื่น ๆ ประกอบ

การผสมการใช้ Time Frame

  • คุณต้องจำไว้ว่า เทรนด์ใน Time Frame ที่ใหญ่กว่าจะมีโอกาสไปได้อีกไกล และแนวรับแนวต้านนั้นแข็งแกร่งกว่าใน Time Frame ที่เล็กกว่า
  • เรามาเริ่มโดยการเลือก Time Frame ที่คุณชอบและมาดู Time Frame ที่ใหญ่กว่า
  • ซึ่งคุณสามารถทำการตัดสินใจได้ว่าจะส่ง ออร์เดอร์ Buy หรือ Sell ขึ้นอยู่กับว่า ตลาดนั้นแกว่งตัวหรือเกิดเทรนด์ แล้วกลับมาที่ Time Frame ที่คุณได้เลือกไว้ (หรืออาจจะไปดู Time Frame ที่ต่ำกว่า) ในการตัดสินใจหาจุดเข้าหรือจุดของ จุดที่ต้องส่งออร์เดอร์ Stop Loss หรือ จุดทำกำไร เมื่อคุณรู้อย่างนี้ บางทีนี่อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเทรดโดยการใช้ หลาย ๆ Time Frame ในการวิเคราะห์ คุณสามารถ ซูมไปดู Time Frame เล็ก ในการหาจุดเข้า หรือจุดออกที่ดี คุณเริ่มเห็นแสงสว่าง มากกว่าคนที่เทรดโดยใช้ Time Frame เดียวแล้วหล่ะ

สรุปการใช้ Time Frame ไม่ควรเกิน 3 Time Frame

เรามักจะใช้ Time Frame 3 อัน เรารู้สึกว่ามันยืดหยุ่นได้พอเหมาะ และสามารถถอดรหัส เทรนด์ยาว ระยะสั้น และเทรนด์กลาง ๆ

1.Time Frame ใหญ่ที่สุด เพื่อใช้เป็นเทรนด์หลักของเรา ซึ่งนี่ทำให้เราเห็นภาพรวมที่เราอยากจะเทรด

2.Time Frame ที่เล็กว่า เรามักจะใช้มันเพื่อดูว่าสัญญาณ Buy หรือ Sell ขัดแย้งกันหรือเปล่า

3.Time Frame ที่เล็กที่สุด จะแสดงเทรนด์เล็ก ๆ และช่วยเราหาจุดเข้า หรือจุดออกจากเทรนด์ที่ดี

คุณสามารถใช้ Time Frame ไหนก็ได้ที่คุณชอบตราบเท่าที่คุณมีเวลา ให้มันเคลื่อนไหวต่างกัน และเวลาต่างกัน คุณอาจจะใช้ ช่วงเวลาดังต่อไปนี้ :

  • Time Frame: 1 นาที, 5 นาที , และ 30 นาที
  • Time Frame: 5 นาที, 30 นาที, และ 4 ชั่วโมง
  • Time Frame: 15 นาที , 1 ชั่วโมง, และ 4 ชั่วโมง
  • Time Frame: 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง, และ วัน
  • Time Frame: 4 ชั่วโมง, วัน year, และ สัปดาห์

อ่านบทความ Forex Professional ทั้งหมด

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)