บทที่ 3.Pivot Point

2 พฤษภาคม 2022
webmaster

บทที่ 3.Pivot Point

บทที่ 3.Pivot Point

นักเทรดมืออาชีพ และ Market Maker (ผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาด) ใช้ Pivot Point ในการวิเคราะห์แนวรับ และ แนวต้านที่สำคัญ โดยการใส่ Pivot Point และแนวรับแนวต้านของตัว pivot Point ซึ่งเป็นทิศทางของราคาที่สามารถจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ณ จุดนั้นได้

Pivot points เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับนักเทรดระยะสั้นทั้งหลายผู้ที่กำลังมองหาความได้เปรียบของการเคลื่อนไหวของทิศทางของราคาในช่วงสั้น ๆ

Pivot points สามารถใช้ทั้งนักเทรดที่เล่นการ swing ของราคา และนักเทรดที่เล่นในลักษณะการใช้จุด Break out นักเทรดที่ใช้การ swing ของราคาใช้ Pivot Point ในการวิเคราะห์จุดกลับตัวของพฤติกรรมราคา และนักเทรดที่ใช้จุด Break out จะใช้ Pivot Point ในการหาจุด

Pivot Points มีวิธีการคำนวณอย่างไร

Pivot point และ เส้นแนวรับแนวต้านที่ใช้ด้วยกันจะถูกคำนวณโดยการใช้ช่วงราคา High Low และราคาปิดของช่วงเวลาการเทรดก่อนหน้านี้ เพราะตลาด forex นั้นเปิดตลอด 24 ชั่วโมง เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ก็จะใช้ เวลาปิดของตลาด New York ที่เวลา ตีสี่เป็นเวลาปิดของการเทรดของตลาด

การคำนวณ จุด Pivot Point แสดงข้างล่างดังนี้:

Pivot point (PP) = (High + Low + Close) / 3

แนวรับ และแนวต้านจะถูกคำนวณจากจุด Pivot point อีกทีดังนี้:

แนวรับแรกและแนวต้านแรก:

แนวรับแรก (S1) = (2*PP) – High

แนวต้านแรก (R1) = (2*PP) – Low

แนวรับที่สองและแนวต้านที่สอง :

แนวรับที่สอง (S2) = PP – (High – Low) แนวต้านที่สอง (R2) = PP + (High – Low)

อย่ากังวลเรื่องการคำนวณนี้เลย โปรแกรมเทรดจะคำนวณให้คุณอย่างเสร็จสรรพและกำหนดจุดต่าง ๆ ให้บนกราฟ

การใช้ Pivot Points ในการเทรด

การเทรดโดยใช้ Breakout

  • Pivot point ควรจะเป็นสิ่งแรกที่คุณควรจะใช้ในการเทรด เพราะมันเป็นทั้งแนวรับและแนวต้านแรก การเคลื่อนไหวของราคาครั้งใหญ่ ปกติแล้วจะเกิดขึ้นที่ช่วงราคาของ Pivot Point อยู่แล้ว
  • เมื่อราคาถึง Pivot Point จะสามารถบอกได้ว่าเราควรจะส่ง Buy หรือ Sell และตั้งจุดทำกำไร และ จุด หยุดขาดทุนไว้ตรงไหน โดยปกติถ้าราคาอยู่เหนือเส้น Pivot นั่นคือภาวะตลาดกระทิง และถ้าต่ำกว่าเส้น Pivot นั่นคือตลาดอยู่ในภาวะตลาดหมี
  • สมมุติว่า ราคากาลังขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่แถวจุด Pivot Point และปิดต่ำกว่าจุด Pivot Point ดังนั้นคุณจะควรตัดสินใจ ส่งออร์เดอร์ Sell จุดหยุดขาดทุนก็จะอยู่เหนือจุด Pivot Point และจุดทำกำไรของคุณจะอยู่เส้นแนวรับแรก
  • อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเห็นราคายังเคลื่อนไหวในขาลงอย่างต่อเนื่อง แทนที่คุณจะทำกำไรที่แนวต้านที่หนึ่ง ในดูอย่างใกล้ชิด ซึ่งแนวรับที่สองก็จะเป็นจุดต่ำสุดที่ราคาจะเคลื่อนไหวไปถึงได้แทนในวันทำการและควรจะเป็นจุดทำกำไรที่ยอดเยี่ยม ซึ่งไม่ควรจะขยับไปอีก
  • อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเห็นราคายังเคลื่อนไหวในขาลงอย่างต่อเนื่อง แทนที่คุณจะทำกำไรที่แนวต้านที่หนึ่ง ในดูอย่างใกล้ชิด ซึ่งแนวรับที่สองก็จะเป็นจุดต่ำสุดที่ราคาจะเคลื่อนไหวไปถึงได้แทนในวันทำการและควรจะเป็นจุดทำกำไรที่ยอดเยี่ยม ซึ่งไม่ควรจะขยับไปอีก
  • การเกิดการกลับตัวมาเป็น ขาขึ้น ถ้าราคาปิดเหนือจุด Pivot Point คุณจะต้องส่งออร์เดอร์ Buy ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคา Pivot Point และเราจะตั้งจุดตัดขาดทุน ที่จุดต่ำกว่าจุด Pivot Pointและใช้แนวต้านที่ 1 และ แนวต้านที่สองเป็นจุดทำกำไรของเรา

การเทรดโดยการใช้จังหวะสวิงของราคา

  • ความแข็งแกร่งของแนวรับและแนวต้านที่จุด Pivot ในระดับที่แตกต่างกันซึ่งจะวัดจากจำนวนครั้งที่ราคามาทดสอบแนวรับแนวต้านที่ Pivot นั้น ยิ่งราคาทดสอบแนวรับแนวต้านแล้วไม่สามารถผ่านไปได้ ยิ่งหมายความว่าจุด Pivot จุดนั้นเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่ง Pivot นั้นหมายถึงการเข้าไปทดสอบแนวรับแนวต้านและหลังจากนั้นจะกลับตัว ดังนั้นเราจึงเรียกว่า Pivot
  • ถ้าราคาอยู่ใกล้ระดับแนวต้านข้างบนคุณสามารถส่งคาสั่ง Sell และตั้งจุดหยุดขาดทุนที่จุดเหนือเส้นแนวต้าน
  • ถ้าราคา ยังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่องเหนือเส้นแนวต้าน ซึ่งเป็นจุดการเกิดเบรคเอาท์ขาขึ้น เราก็ควรจะปิดออร์เดอร์ของเรา แต่ถ้าคุณเชื่อว่า ราคาจะยังเคลื่อนไหวรุนแรงต่อไป คุณอยากจะไหลไปตามเทรนด์คุณก็สามารถส่ง Buy แล้วก็ใส่จุดตัดขาดทุนให้ต่ำกว่าจุดแนวต้านที่คุณเพิ่งจะใช้เป็นจุด Stop loss ในออร์เดอร์ก่อนหน้า ซึ่งตอนนี้จะกลายมาเป็นแนวรับแล้ว
  • ถ้าราคาอยู่ใกล้เส้นแนวรับข้างล่าง คุณสามารถสองออร์เดอร์ Buy และใส่จุดตัดขาดทุนต่ำกว่าเส้นแนวรับได้ เช่นเดียวกัน
  • Pivot point ไม่ได้สมบูรณ์แบบไปทุกครั้ง การเคลื่อนไหวของราคาดูเหมือนจะแกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ในช่วงของ pivot point อยู่ตลาดเวลา และบางครั้งมันก็ยากจะบอกว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
  • บางครั้ง ราคาก็หยุดก่อนที่มันจะถึงราคาที่ Pivot point กำหนดขึ้น และบางครั้งอาจจะไม่ถึงจุดทำกำไรของคุณ หรือว่า ในบางครั้ง เส้นแนวรับแนวต้าน ก็ไม่ได้เป็นเส้นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งจนคุณเห็นแต่ราคา ร่วงเอาร่วงเอาอย่างไม่คิดจะหยุด

มองดูที่วงรีสีส้ม จะเห็นว่า Pivot Point เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งแต่ถ้าคุณส่งออร์เดอร์ BUY มันก็ไปไม่ถึง เส้นแนวต้านที่หนึ่งเลย

มองดูที่วงกลมสีม่วง ค่าเงินทะลุ Pivot Point แต่ว่าไปไม่ถึงแนวรับที่ 1 ก่อนที่จะวกกลับไปที่เส้น Pivot Point ครั้งที่สองของการทะลุจุด pivot Point ขึ้นไป (จุดวงกลมสีม่วงตาแหน่งที่สอง) พยายามจะไปทดสอบแนวต้านที่ 1 ก่อนที่จะกลับตัวเข้ามาอยู่ต่ากว่าเส้น pivot point อีกครั้ง

ดูที่วงรีสีชมพูอีกครั้ง จุด Pivot Point เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งแต่ว่าราคาก็ไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านที่ 1 ไปได้

ในวงกลมสีเหลือง ค่าเงินเปลี่ยนมาเป็นขาลงอีกครั้ง ทะลุผ่านแนวรับที่หนึ่งและลงไปจนถึงแนวรับที่สอง

ถ้าคุณพยายามที่จะส่งคาสั่ง Buy ในกราฟลักษณะนี้ ออร์เดอร์ของคุณจะชน Stop loss ทุก ครั้ง

โดยส่งตัวแล้ว เราไม่เคยคิดจะแนะนาให้คุณส่งออร์เดอร์ Buy เนื่องจากราฟนี้เป็นเทรทนด์ขาลง

จงจำไว้ว่า เราต้องเกาะเทรนด์เสมอ

อ่านบทความ Forex Professional ทั้งหมด

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)