ATR คือ อะไร ?
ATR คือ อะไร ? ATR (Average True Range) หรือ ATR Indicator เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวหนึ่ง ซึ่งใช้วัดระดับความผันผวนของราคา ซึ่งถูกพัฒนาโดย J. Welles Wilde แตกต่างจากอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่นๆ เช่น Moving Average , MACD , RSI , Stochastic ที่มักใช้บอกแนวโน้มของราคา หรือระดับราคาการซื้อขายสุดโต่ง Overbought หรือ Oversold นั่นคือ ATR ไม่สามารถใช้ในการบอกทิศทางของราคาได้ แต่จะเป็นตัวบอกระดับความผันผวนหรือ Volatility ของตลาด โดยส่วนมากแล้ว ATR มักจะถูกนำไปใช้อ้างอิงร่วมกับอินดิเคเตอร์ที่ใช้บอกแนวโน้มของราคา เพื่อยืนยันแนวโน้มให้ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความผันผวนกันก่อนดีกว่า เนื่องจากหลายคนยังสับสนเกี่ยวกับความผันผวน โดยความผันผวนไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม และไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางราคา แต่เป็นการวัดว่าราคาแกว่งตัวไปมามากน้อยเพียงใด
ที่มาของค่า ATR
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับที่มาหรือวิธีการได้มาของตัวเลข Average True Range หรือ ATR กันก่อน โดย ATR นั้นจะคำนวณมาจาก การนำค่าที่มากที่สุด (Max) ระหว่าง
- l ราคาสูงสุดของวันนี้ – ราคาปิดของวันก่อนหน้า l
- l ราคาปิดของวันก่อนหน้า – ราคาต่ำสุดของวันนี้ l
- l ราคาสูงสุดของวันนี้ – ราคาต่ำสุดของวันนี้ l
* การใส่ Absolute ทำให้ค่าเป็น บวก เสมอ
ของแต่ละวันมาหาค่าเฉลี่ย โดยปกติมักใช้ค่ามาตรฐานกันที่ 14 วัน หรือ ATR(14) เนื่องจากในบทความฉบับนี้เน้นที่นำไปประยุกต์ใช้ หากนักลงทุนต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคำนวณค่า ATR โดยละเอียด สามารถหาอ่านได้จาก Website การลงทุนทั่วไปครับ
สูตรคำนวณ ATR
Current ATR = [(Prior ATR x 13) + Current TR] / 14
– Multiply the previous 14-day ATR by 13.
– Add the most recent day’s TR value.
– Divide the total by 14
Credit : stockcharts.com
ความแตกต่างของความผันผวน กับ โมเมนตัม
- ความผันผวน : วัดการแกว่งตัวของราคาว่ามีขนาดเท่าไร่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย โดยในช่วงที่ความผันผวนมาก แท่งเทียนจะมีลักษณะไส้เทียนยาวๆ และตัวเทียนจะมีสัดส่วนที่เล็กเมื่อเทียบกับไส้เทียน
- โมเมนตัม : บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม โดยในช่วงที่โมเมนตัมของราคามีมาก แท่งเทียนมักจะมีตัวเทียนขนาดใหญ่ และไส้เทียนสั้นๆ
“ซึ่งในช่วงที่เป็นแนวโน้มอย่างชัดเจนนั้น จะพบว่าราคามีความผันผวนน้อย แต่มีโมเมนตัมสูง”
จุดที่น่าสังเกตของเครื่องมือ ATR คือ ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น จะให้ค่าความผันผวนน้อยกว่า ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง (ขาลง ATR สูง , ส่วน ขาขึ้น ATR ต่ำ) เนื่องจากทางทฤษฎีได้อ้างอิงว่า อารมณ์กลัว (ลบ) นั้นความมีรุนแรงความ อารมณ์โลภ (บวก) จึงทำให้เวลาตลาดขาลง ความผันผวนจึงมีมากกว่า
หลังจากที่ได้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ATR กันไปแล้ว เรามีดูวิธีใช้ประโยชน์จากมันกันดีกว่า โดยหลักๆ ATR จะไม่ได้เป็นตัวให้สัญญาณการ ซื้อ/ขาย แต่ส่วนมากจะนำมาใช้เป็น จุดขายทำกำไร หรือ จุดตัดขาดทุน เนื่องจากสามารถปรับ จุดขายทำกำไร หรือ จุดตัดขาดทุน ให้ยืดหยุ่นตามสภาพตลาด ณ ตอนนั้น เช่น ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมาก การแกว่งตัวของราคาจะค่อนข้างกว้างกว่าปกติ จึงต้องปรับจุดตัดขาดทุนให้เหมาะสมกับตลาดในช่วงนั้น เป็นต้น
(ในกราฟใช้ Volatility stop indicator ซึ่งมีค่าเหมือนกับ ATR เพียงแต่นำมา Plot บนกราฟ)
การใช้งาน ATR ยังมีอีกหลากหลาย อย่างเช่น ซึ่งเทรดเดอร์ Forex สามารถลองนำไปปรับการใช้งานกันดู สามารถมีมิติที่หลากหลายในการเทรด อีกทั้งยังสามารถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดให้ดียิ่งๆไปขึ้นครับ