รู้จักกับเส้น Exponential Moving Average EMA เบื้องต้น

13 กันยายน 2022
kongpop

รู้จักกับเส้น Exponential Moving Average EMA เบื้องต้น

รู้จักกับเส้น Exponential Moving Average EMA เบื้องต้น

Exponential Moving Average (EMA) เป็นอีกประเภทของเส้น Moving Average (MA) โดยให้ความสำคัญกับราคาล่าสุดสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Exponential Weighted Moving Average (EWMA) โดยบทความนี้เราจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้น EMA เบื้องต้น

Exponential Moving Average (EMA) นั้นคล้ายกับ Simple Moving Average (SMA) ใช้เพื่อวัดทิศทางของแนวโน้มในแต่ละช่วงเวลา

แต่ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง SMA และ EMA คือ EMA เป็นการคำนวณราคาหุ้นย้อนหลังแบบถ่วงน้ำหนักในรูปแบบเลขชี้กำลังและให้ความสนใจกับราคาสุดท้ายมากที่สุด ในขณะที่ SMA จะคำนวณเพียงราคาเฉลี่ยอย่างเดียว โดยวิธีคำนวณ EMA ตอบสนองต่อความผันผวนของราคาล่าสุดได้ดีกว่า SMA และเมื่อใช้ช่วงเวลาเดียวกัน EMA จะมีความล่าช้าน้อยกว่า SMA

วิธีการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โปเนนเชียล (EMA)

  • เมื่อราคาอยู่ด้านบน EMA ให้พิจารณาซื้อเมื่อราคาใกล้เส้นหรือเกือบต่ำกว่า EMA
  • เมื่อราคาอยู่ด้านล่าง EMA ให้พิจารณาขายเมื่อราคาพุ่งเข้าหาหรือเกือบสูงกว่า EMA

โดยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถระบุพื้นที่แนวรับและแนวต้านได้

  • หากกราฟอยู่ด้านบนเส้น EMA มีแนวโน้มที่จะเป็นแนวรับของราคา
  • หากกราฟอยู่ด้านล่างเส้น EMA มีแนวโน้มที่จะเป็นแนวต้านของราคา

กลยุทธ์นี้เราจะซื้อเมื่อราคาอยู่เหนือและอยู่ใกล้เส้น EMA ด้านบนและจะ sell เมื่อราคาอยู่ใกล้และอยู่ต่ำกว่า EMA ด้านล่าง โดยเหมือนกับ indicator เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งหมด Exponential Moving Averages เหมาะสำหรับตลาดที่มีแนวโน้มหรือกำลังอยู่ในช่วงของแนวโน้ม

  • เมื่อราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง เส้น EMA จะแสดงแนวโน้มขาขึ้น
  • และกลับกันเมื่อราคาอยู่ในช่วงขาลงที่แข็งแกร่ง เส้น EMA จะแสดงแนวโน้มขาลง
  • คุณควรให้ความสนใจทั้งความชัน (ทิศทาง) ของเส้น EMA และโมเมนตัม (อัตราการเปลี่ยนแปลง) ของเส้น EMA จากแท่งเทียนหนึ่งไปยังแท่งถัดไป

Moving averages รวมถึง EMA ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อระบุแนวโน้มที่แน่นอน แค่ช่วยให้เราซื้อขายในทิศทางตามแนวโน้มเท่านั้น และค่อนข้างมีความล่าช้าในการเข้าออเดอร์

วิธีการคำนวณ EMA

EMA จะรวมข้อมูลราคาทั้งหมดไว้ในมูลค่าปัจจุบัน ข้อมูลราคาล่าสุดมีผลกระทบมากที่สุดต่อ EMA และข้อมูลราคาที่เก่าที่สุดมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

EMA = (K x (C – P)) + P

C = Current Price (ราคาปัจจุบัน)
P = Previous period’s EMA (EMA ช่วงก่อนหน้า)
K = Exponential smoothing constant (ค่าคงที่การปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล)

สรุปคือ เส้นใช้บอกจุดเข้าซื้อ ใช้ในการหาแนวรับแนวต้าน เป็นอินดิเคเตอร์ที่ดูง่ายที่สุดแล้วสำหรับเทรดเดอร์เพราะเราดูแค่ราคาอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของแนวโน้มก็สามารถระบุเทรนในตอนนั้นได้แล้ว แต่ก็ไม่ได้การันตี 100 % ว่าราคาจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มเสมอไป

ดูคำศัพท์ทั่วไปทั้งหมด

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)

แจ้งใช้ SERVER-VPS ที่นี่