EU เตือนหากกำหนดเพดานราคาก๊าซอาจทำให้ความต้องใช้เพิ่มกว่า 9 พันล้านลบ.ม.
EU หรือ European Union เตือนหากกำหนดเพดานราคาก๊าซอาจทำให้ความต้องใช้เพิ่มกว่า 9 พันล้านลบ.ม. คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เตือนประเทศต่างๆ ว่าการกำหนดเพดานราคาก๊าซที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั่วทั้งสหภาพยุโรป อาจทำให้มีการใช้ก๊าซและการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเงินสนับสนุนของสหภาพยุโรป ตามเอกสารที่รอยเตอร์เห็น
รัฐมนตรีพลังงานของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรปจะประชุมกันในวันอังคารเพื่อหารือเกี่ยวกับทางเลือกในการจำกัดราคาก๊าซของสหภาพยุโรป แต่หลายๆประเทศยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน
เอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมาธิการร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการวิเคราะห์ขีดจำกัดราคาก๊าซที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นโครงการที่สเปนและโปรตุเกสประกาศในช่วงที่ผ่านมา แต่หลังจากสงครามยูเครน-รัสเซีย และการลดการจ่ายก๊าซของสหภาพยุโรปส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานสูงขึ้น
เอกสารระบุว่าการเปิดโครงกทั่วทั้งสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นแนวคิดที่ฝรั่งเศสสนับสนุน อาจส่งผลให้ความต้องการก๊าซของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นสูงถึง 9 พันล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้ยังต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าที่ราคาถูกส่งออกไปยังประเทศอื่นนอกสหภาพยุโรป เช่น อังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ ที่ยังไม่มีการกำหนดเพดานราคาสูงสุด
เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ได้เตือนว่าการจำกัดราคาเพื่อให้น้ำมันราคาถูกลง อาจเป็นเหตุให้การบริโภคพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ประเทศอื่น ต่างก็ประหยัดเชื้อเพลิง
คณะกรรมาธิการกล่าวว่าหากราคาก๊าซในตลาดอยู่ที่ 180 ยูโรต่อเมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี โครงการดังกล่าวอาจให้ผลตอบแทนสุทธิ 13 พันล้านยูโร (12.8 พันล้านดอลลาร์) และช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่ผลตอบแทนดังกล่าวจะไม่กระจายทั่วทั้งประเทศ
เอกสารระบุว่า ฝรั่งเศสจะถือเป็นผู้นำเข้าสุทธิของไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงและสามารถได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากการกำหนดเพดานราคาก๊าซ
ในขณะเดียวกันเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ซึ่งผลิตไฟฟ้าจากก๊าซในปริมาณที่มาก จะต้องรับมือกับต้นทุนสูงสุดในการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการนี้
($ 1 = 1.0131 ยูโร)
(Source : reuters.com)