ครม.เตรียมเก็บภาษีขายหุ้น 0.1% หลังยกเลิกมา 30 ปี
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา มีรายงานจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าให้มีการเก็บภาษีขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยที่กระทรวงการคลังเสนอให้มีการเก็บภาษีในอัตรา 0.10% ซึ่งจะเก็บจากการขายหุ้น คำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่าย
- ยกตัวอย่างเช่น หากเราขายหุ้น มูลค่า 1,000,000 บาท เราก็จะเสียภาษี 1,000 บาท
ในความเป็นจริงแล้วภาษีดังกล่าวมีอยู่แล้ว แต่ก็ได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 หรือประมาณ 30 ปี เพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่วันนี้ที่ปรับกลับมาเก็บภาษี ก็เพราะต้องการจัดเก็บรายได้เข้าภาครัฐเพิ่มเติม
โดยคาดว่าภาษีขายหุ้น จะทำให้ภาครัฐได้รายได้เพิ่มขึ้นราวปีละ มากถึง 1 ถึง 2 หมื่นล้านบาทต่อปี..
แต่ก็ได้มีการรายงานเพิ่มเติมว่าการเก็บภาษีขายหุ้นแม้รัฐบาลจะอนุมัติแล้ว ก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ทันที เพราะจำเป็นต้องผ่านร่างกฤษฎีกาก่อน โดยจะมีผล 90 วันหลังประกาศใช้หรือประมาณไตรมาส 2 ปี 2566
โดยหากเริ่มมีการจัดเก็บ ในปีแรกจะเป็นการเก็บครึ่งหนึ่ง หรือ 0.055% โดยรวมภาษีท้องถื่น แบ่งเป็นภาษีขายหุ้น 0.050% และภาษีท้องถิ่น 0.005% และภาครัฐจะให้เวลาเตรียมตัวก่อน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
เรื่องนี้กระทบกับธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ตรงๆ เพราะอาจทำให้คนอยากซื้อขายหุ้นน้อยลง และต้องดูด้วยว่ากระทบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ หรือไม่ เช่น การซื้อขาย DW, DR หรือการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าจะรวมอยู่ในการเก็บภาษีนี้หรือไม่
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง มีความจำเป็นต้องเก็บภาษีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับภาครัฐ หลังจากที่ได้มีการยกเว้นการจัดเก็บมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี แต่มองในแง่มุมการซื้อขายของนักลงทุน ก็จะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
(ที่มา : สำนักข่าวlongtunman)