Awesome Oscillator คืออะไร ใช้งานอย่างไร

12 กรกฎาคม 2022
gokinzar

Awesome Oscillator คืออะไร ใช้งานอย่างไร

Awesome Oscillator คืออะไร ใช้งานอย่างไร

Awesome Oscillator คืออะไร ใช้งานอย่างไร

Awesome Oscillator คืออะไร ใช้งานอย่างไร

ภาพประกอบ ความหมายของ AO

Awesome Oscillator คือ อินดิเคเตอร์ หรือ ตัวชี้วัด ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของกราฟราคา มีประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น ช่วยในการกำหนดทิศทาง หรือ วิเคราะห์แนวโน้ม การวัดความแข็งแรงของการเคลื่อนไหว การหาสัญญาณ Divergence และ การหาจุดกลับตัวของกราฟ หรือ การเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม เป็นต้น

ลักษณะของ Awesome Oscillator (AO)

Awesome Oscillator ถูกสร้างโดย Bill Williams และ อยู่ในหมวด ของBill Williams โดย Williams ได้ใช้ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ SMA 34 และ  SMA 5 นำมาคำนวณ และ ประมวลผลออกมาเป็น Histogram ที่เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะตลาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่า กำลังอยู่ใน รอบของการขึ้นหรือลง

ภาพแสดง ส่วนประกอบของ AO

Awesome Oscillator ประกอบไปด้วย

  1. Histogram สีแดง หมายถึง แรงขายมี Volumes มากกว่าแรงซื้อ
  2. Histogram สีเขียว หมายถึง แรงซื้อมี Volumes มากกว่าแรงขาย
  3. เส้นศูนย์ หรือ Zero Line จะแบ่งข้างระหว่าง ค่าของ Awesome ที่เป็น บวก กับ ลบ 

วิธีใช้งาน Awesome Oscillator (AO)

  1. ใช้เพื่อดูแนวโน้ม ( Trend )

ถ้าหากค่าของ AO Histogram  มีค่าเป็นบวก หรือ อยู่เหนือเส้นศูนย์ และ กราฟแท่งเทียน ณ ตอนนั้น เป็นแท่งเทียนขาขึ้น แสดงว่า อาจเป็นแนวโน้มขาขึ้น หรือ อยู่ในโซนตลาดกระทิง (Bullish Zone) และ

 ถ้าหากค่าของ AO Histogram  มีค่าเป็นลบ หรือ อยู่ใต้เส้นศูนย์ และ กราฟแท่งเทียน ณ ตอนนั้น เป็นแท่งเทียนขาลง แสดงว่า อาจเป็นแนวโน้มขาลง หรือ อยู่ในโซนตลาดหมี (Bearish Zone)

ภาพแสดง การใช้ AO เพื่อดูแนวโน้ม ( Trend )

2. ใช้เพื่อหาจังหวะซื้อ – ขาย

การเข้า Buy ควรรอจังหวะให้ AO Histogram  มีค่าเป็นบวก และอาจจะใช้ indicator อื่นๆ เพื่อยืนยันแนวโน้มที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แล้วหลังจากนั้น รอกราฟย่อตัว เราจะเข้าเทรด ด้วยระบบ Trend Following หรือ การเทรดแบบติดตามแนวโน้ม  แนะนำให้ใช้เทคนิคอื่นๆร่วมด้วย เช่น การหาแนวรับแนวต้าน และ เทรนไลน์ เป็นต้น

การเข้า Sell ควรรอจังหวะให้ AO Histogram  มีค่าเป็นลบ และ อาจจะใช้ indicator อื่นๆ เพื่อยืนยันแนวโน้มที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แล้วหลังจากนั้น รอกราฟย่อตัว เราจะเข้าเทรด ด้วยระบบ Trend Following หรือ การเทรดแบบติดตามแนวโน้ม  แนะนำให้ใช้เทคนิคอื่นๆร่วมด้วย เช่น การหาแนวรับแนวต้าน และ เทรนไลน์ เป็นต้น

ภาพแสดง ตัวอย่าง การใช้ AO เพื่อหาจังหวะซื้อ – ขาย

3. ใช้เพื่อค้นหาการเกิด  Divergence

เมื่อกราฟราคา และ AO Histogram ได้เดินตรงกันข้ามกัน จึงทำให้เกิด

  • Divergence ขาขึ้น เมื่อกราฟราคาได้ทำจุดต่ำสุดใหม่ ในขณะที่ จุดต่ำสุดของ Awesome ได้ขยับตัวสูงขึ้น
  • Divergence ขาลง เมื่อกราฟราคาได้ทำจุดสูงสุดใหม่ ในขณะที่ จุดสูงสุดของ Awesome ย่อตัวต่ำลง
ภาพแสดง ตัวอย่าง การใช้ AO เพื่อค้นหา Divergence