Force Index Indicator คืออะไร มี วิธีใช้งาน อย่างไร

9 มิถุนายน 2022
miso435

Force Index Indicator คืออะไร มี วิธีใช้งาน อย่างไร

ภาพแสดง ลักษณะของ Force Index Indicator (FI)

Force Index Indicator (FI) เป็นตัวชี้วัดทางเทคนิค ที่ใช้วัดความแรงของตลาดหมี และ ตลาดกระทิง สามารถคาดการณ์ทิศทางของราคาในอนาคต โดยเปรียบเทียบกับ ราคา (Price) และ ปริมาณการซื้อขาย (Volume) สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น วิเคราะห์แนวโน้ม ดู Divergence และ หาจังหวะการพักตัวของราคา เป็นต้น  อินดิเคเตอร์นี้ ถูกพัฒนาโดยAlexander Elder นักเทรดผู้โด่งดัง เจ้าของผลงาน ผู้เขียนหนังสือ Trading for a Living ในปี 1993

ลักษณะของ Force Index Indicator

เป็น Indicator ที่ประกอบไปด้วย เส้น 1 เส้น จะใช้แสดง Value หรือ ปริมาณการซื้อขาย และมี เส้น ศูนย์ อยู่ขั้นกลางระหว่าง ปริมาณการซื้อขาย ที่เป็นบวก กับ ปริมาณการซื้อขาย ที่เป็น ลบ

ลักษณะที่น่าสนใจของตัวบ่งชี้นี้ คือ ไม่มีขอบเขตของ ค่าของเส้น Force Index กล่าวคือ Value  ค่าของมันสามารถเดินทางขึ้นหรือลงได้อย่างไม่จำกัด

หาก Value อยู่เหนือศูนย์ แสดงว่า ดัชนีกำลังเพิ่มขึ้น   มันคือการยืนยัน การเคลื่อนไหวของราคาอาจอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ในทางกลับกัน หาก Value ลดลงหรืออยู่ต่ำกว่าศูนย์ ตัวชี้วัดนี้ จะสร้างค่าที่ต่ำกว่าศูนย์และช่วยยืนยันการเคลื่อนไหวของราคาที่ลดต่ำลง แสดงว่า ราคาอาจจะย่อตัว หรือ กลับตัวเป็นแนวโน้มขาลง

วิธีใช้งาน Force Index Indicator  มีหลักการดังนี้

ใช้เพื่อดูแนวโน้ม ( Trend )Force Index สามารถใช้เพื่อค้นหาและยืนยันแนวโน้มของกราฟราคา หากราคาและ Indicator บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกัน จะเป็นการยืนยันในทิศทางของแนวโน้มนั้นๆ 

ภาพแสดง การวิเคราะห์แนวโน้ม ด้วย Force Index Indicator (FI) ใช้ร่วมกับแนวรับแนวต้าน

หากราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้น ( Up Trend ) ค่าของ FI จะต้องอยู่เหนือ ศูนย์  และ หากราคาเป็นแนวโน้มขาลง ( Down Trend ) ค่าของ FI จะต้องอยู่ต่ำกว่า ศูนย์ ทั้งนี้ Period ที่จะเลือกใช้งานนั้น ขึ้นอยู่ว่าเราจะดูแนวโน้มระยะเวลาเท่าไหร่ (สั้น กลาง ยาว)

ใช้วิเคราะห์การเกิด Divergence

การเกิด Divergence คือ ทิศทางของราคา กับ Indicator นั้น อยู่ตรงข้ามกัน หลังจากนั้นจะเกิดสัญญาณในการกลับตัวของราคา

ภาพแสดง การเกิด Divergence 

จากตัวอย่างด้านบน ราคาพยายามที่จะทำจุดสูงสุดใหม่  แต่ Force Index ไม่ได้ทำ High ใหม่ กลับทำ High ที่ต่ำลง สะท้อนให้เห็นถึง แรงซื้อที่ลดน้อยลง ทำให้สุดท้ายราคาไปต่อไม่ไหว ก็จะกลับตัว กลายเป็นแนวโน้มขาลงในที่สุด