ราคาโลหะเงินอาจแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีในปี 2566
โลหะเงิน (Silver) อาจแตะระดับสูงสุดในรอบเก้าปีที่ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในปีนี้ ซึ่งอาจแซงหน้าราคาทองคำ อุปทานเงินที่ไม่เพียงพอรวมถึงแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีกว่าทองคำในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อสูงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่สนับสนุนแนวโน้มดังกล่าว
ครั้งสุดท้ายที่สปอตซิลเวอร์แตะระดับ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์คือในเดือนกุมภาพันธ์ 2013ตามข้อมูลราคาปิดจาก Refinitiv ″โลหะเงินเคยทำกำไรได้เกือบ 20% ต่อปีในช่วงหลายปีที่เงินเฟ้อสูง เมื่อพิจารณาจากผลงานที่ผ่านมา และราคาแร่เงินยังคงถูกเมื่อเทียบกับทองคำ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นโลหะเงินพุ่งไปที่ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในปีนี้
— ราคาสปอตซิลเวอร์ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 49.45 ดอลลาร์ในปี 1980 เทียบกับอัตราเงินเฟ้อ 13.5%ซึ่งเพิ่มขึ้นจากประมาณ 4 ดอลลาร์ในปี 1976 เมื่ออัตราเงินเฟ้อเย็นลงที่ 5.7% โลหะมีค่าล่าสุดซื้อขายที่ 24.02 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ 6.5%
- การขาดแคลนเงิน
แร่เงินอยู่ในภาวะขาดแคลน… และมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัด “ความต้องการโลหะเงินกลุ่มใหญ่ที่สุดคือภาคอุตสาหกรรมซึ่งเท่ากับเกือบ 50% ของความต้องการทั้งหมด” และในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเป็นผลมาจากความต้องการทางอุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้นจากการใช้งานยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
จากข้อมูลของกลุ่มการค้า The Silver Institute อุปทานของแร่เงินจากการผลิตของเหมืองในปี 2565 อยู่ที่ 843.2 ล้านออนซ์ ซึ่งยังคงถือว่าไม่สูงเมื่อเทียบกับระดับสูงสุดของทศวรรษที่ 900 ล้านออนซ์ในปี 2559
“เมื่อราคาแร่เงินสูงขึ้น เหมืองเงินสามารถเพิ่มการผลิตไม่ได้ เพราะเหมืองเงินผลิตแร่เงินได้ประมาณ 25% เท่านั้น” และตลาดมักจะพึ่งพาเหมืองตะกั่ว-สังกะสีเพื่อตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้น
— อย่างไรก็ตาม ความกลัวภาวะถดถอยอาจนำไปสู่อุปสงค์ภาคอุตสาหกรรมที่เบาบางลง ซึ่งอาจทำให้ราคาเงิน (Silver) ลดลงต่ำถึง 18 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดต่อราคาโลหะเงินคือหากอัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
“หากเฟดยังคงเข้มงวดต่อไป และถ้าอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้ นั่นจะเป็นอุปสรรคต่อเงิน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากความต้องการเงินส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการผลิตภาคอุตสาหกรรม
(ที่มา : สำนักข่าว CNBC)