5 ปัจจัยที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้ (7-11 พ.ย. 65)

5 ปัจจัยที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้ (7-11 พ.ย. 65)

ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้อาจเป็นข้อมูลให้ธนาคารกลางสหรัฐอาจเริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลการเลือกตั้งมิดเทอมของสหรัฐในวันอังคารจะอยู่ในความสนใจเช่นกัน จีนจะเปิดเผยข้อมูลการค้าและอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากนโยบายปลอดโควิดของปักกิ่งยังคงสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน สหราชอาณาจักรจะเปิดเผยข้อมูล GDP ในวันศุกร์ซึ่งคาดว่าจะแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

1.ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ

สหรัฐฯ จะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนตุลาคมในวันพฤหัสบดีนี้ นักลงทุนต่างจับตาดูข้อมูลบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านราคาเริ่มชะลอตัวลงหลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกินขนาดกว่าที่คาด

ประธานเฟดกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่ามีแนวโน้มที่จะปรับอัตราขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ดังนั้นค่าเงินเฟ้อที่ยังร้อนแรงน่าจะทำให้ประธานเฟดจะเพิ่มการกระชับนโยบายทางการเงินจะยังคงดำเนินต่อไป

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อประจำปีจะอยู่ที่ 8.0% และอัตราเงินเฟ้อรายเดือนจะเพิ่มขึ้น 0.7% แต่ความคาดหมายของตลาดอาจไปมุ่งความสนใจที่ภาวะถดถอยมากยิ่งขึ้น

2.เลือกตั้งมิดเทอมสหรัฐฯ

สหรัฐฯ เตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งมิดเทอมในวันอังคารนี้ ความหวังในการเลือกตั้งของพรรคเดโมแครตได้รับผลกระทบจากความกังวลของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูง และคะแนนไว้วางใจจากสาธารณะของ ไบเดนยังคงต่ำกว่า 50% มานานกว่าหนึ่งปี โดยมาอยู่ที่ 40% ในการสำรวจล่าสุดของรอยเตอร์สโพล และ Ipsosโพล

3.หุ้นสหรัฐ

นักลงทุนในตลาดหุ้นอาจเผชิญกับความผันผวนที่จะได้รับการทดสอบในอีกไม่กี่วันข้างหน้าจากข้อมูลเงินเฟ้อ และการเลือกตั้งมิดเทอมของสหรัฐ การปรับตัวลดลงตั้งแต่ ดาวโจนส์ ก็ร่วงลง 1.39% S&P 500 ร่วงลง 3.34% และ Nasdaq ลดลง 5.65% ซึ่งเป็นการลดลงรายสัปดาห์ที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม

ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อมีผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวของตลาดอย่างมหาศาลในปีนี้ เนื่องจากการค่าที่สูงอย่างต่อเนื่องทำให้นักลงทุนต้องเพิ่มความคาดหวังสำหรับเฟดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

4.ข้อมูลเศรษฐกิจจีน

การประกาศเมื่อวันเสาร์ว่าประเทศจีนจะยึดมั่นในนโยบายควบคุมโรคโควิด-19 ต่อไป ทำให้ยังคงต้องจับตาเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกกับการเปิดเผยข้อมูลดุลการค้า, ข้อมูลเงินเฟ้อ และ จำนวนสินเชื่อรายใหม่ของจีน ในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะยังคงอ่อนแอเนื่องจาก COVID-19 ยังคงจำกัดอุปสงค์

เงินสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนลดลงติดต่อกัน 8 เดือน อยู่ในระดับ 3 ล้านล้านดอลลาร์ ท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น นับตั้งแต่เฟดเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.

5.GDP ของสหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรจะเปิดเผยข้อมูล GDP ในไตรมาสที่ 3 ในวันศุกร์นี้ ซึ่งคาดว่าจะแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจหดตัว 0.5% ซึ่งก่อนหน้าในวันพฤหัสบดีที่แล้วธนาคารแห่งประเทศอังกฤษประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างรวดเร็วเนื่องจากพยายามต่อสู้กับความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 10% และเตือนถึงภาวะถดถอยที่กำลังมา

BoE คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ประมาณ 11% ในช่วงไตรมาสปัจจุบันและสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอาจจะอยู่ถึง 2 ปีหรือยาวนานกว่านั้น นับเป็นช่วงยาวนานกว่าวิกฤตการเงินในปี 2008-2009

(ที่มา : สำนักข่าวรอยเตอร์)

อ่านข่าวเพิ่มเติม คลิกที่นี่!!

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)