ประเภทเส้น Moving Average หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

20 กันยายน 2022
kongpop

ประเภทเส้น Moving Average หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

ประเภทเส้น Moving Average หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

ในการเทรดเราสามารถเลือกใช้เส้นค่าเฉลี่ยได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความชอบส่วนตัว โดยมีเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลากหลายให้เราเลือกได้ ได้แก่ WMA กับ EMA กับ SMA ซึ่ง Moving Average ทุกประเภทจะใช้หลักการเดียวกัน คือ การหาค่าเฉลี่ยของราคา แต่สิ่งที่แตกต่างกันของเส้น Moving Average แต่ละประเภท คือ การให้น้ำหนักของข้อมูลแต่ละตัวที่แตกต่างกันก่อนนำมาคำนวณค่าเฉลี่ย

โดย WMA (Weighted Moving Averages ) กับ EMA (Exponential Moving Averages ) กับ SMA (Simple Moving Averages) เป็นที่นิยมมากที่สุด

Simple Moving Average (SMA) เป็น เส้น Moving Average หรือ เส้นMA พื้นฐานที่สุด ซึ่งเป็นเพียงการคำนวณราคาเฉลี่ยของระยะเวลาในช่วงเวลาที่กำหนด โดยหากต้องการคำนวณ SMA สำหรับช่วงเวลายี่สิบวัน เราก็ใช้ค่าของ 20 วันที่ผ่านมาและหารผลลัพธ์ด้วย 20

Exponential Moving Average (EMA) ให้ความสำคัญกับราคาล่าสุดมากกว่าเพื่อทำให้ข้อมูลมีการตอบสนองมากกว่า SMA เป็นการคำนวณราคาหุ้นย้อนหลังแบบถ่วงน้ำหนักในรูปแบบเลขชี้กำลังและให้ความสนใจกับราคาสุดท้ายมากที่สุด

Weighted Moving Average (WMA) ให้ความสำคัญกับข้อมูลล่าสุดมากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โปเนนเชียล (EMA) โดยการกำหนดค่าที่ถ่วงน้ำหนักแบบเส้นตรง เพื่อให้แน่ใจว่าราคาล่าสุดมีผลกระทบต่อค่าเฉลี่ยมากกว่าราคาเก่า

โดยเราไม่จำเป็นต้องรู้วิธีการคำนวณเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แต่ละประเภทด้วยตัวเอง เนื่องจากแพลตฟอร์มการซื้อขายส่วนใหญ่จะทำการคำนวณให้คุณโดยอัตโนมัติ

นอกจากนั้นแล้วเส้นค่าเฉลี่ยเหล่านี้ก็สามารถนำมาเป็นแนวรับแนวต้านแบบ dynamic (แนวรับแนวต้านที่เคลื่อนที่ตลอดเวลา) ได้เช่นกัน เพราะเป็นเส้นที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้คงที่เหมือนเส้นแนวรับหรือแนวต้านที่เราเคยตีไว้แบบดั้งเดิมที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้

ดูคำศัพท์ทั่วไปทั้งหมด

สมัครเปิดบัญชีเทรดกับเรารับ ฟรี SERVER ฟรี VPS และ ระบบเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor (EA)

แจ้งใช้ SERVER-VPS ที่นี่