เว็บบอร์ด

18 มีนาคม 2020

เว็บบอร์ด

เว็บบอร์ด แห่งนี้เป็นเพียงสื่อกลางเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้นทาง เราไม่สามารถรับผิดชอบต่อผลกำไรขาดทุนของท่านได้

การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การวิเคราะห์ Forex ขั้นพื้นฐาน

(@siripakan)
Estimable Member

การวิเคราะห์ Forex ขั้นพื้นฐาน

มีวิธีมากมายที่เทรดเดอร์ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคในการเทรด แต่วิธีการเหล่านั้นล้วนใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อประกอบการวิเคราะห์ (เช่น รูปแบบกราฟในอดีต) เพื่อระบุโอกาสที่กราฟจะเคลื่อนไหวมาบรรจบเช่นเดิมอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้เอง นักเทรดจึงรวบรวมข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น เพื่อวิเคราะห์ศึกษาสภาวะของตลาดในปัจจุบัน รวมไปถึงการหาจุด 'เข้า' และ 'ออก' ที่เหมาะสมในการเทรดอีกด้วย

ในขณะที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นมุ่งเน้นพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากข่าว หรือข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อดูว่ามันส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างไร แต่การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะเน้นติดตามความเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นในตลาด

พฤติกรรมราคา

ข้อมูลดังกล่าวใช้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคที่ได้รับการพัฒนามาจากทฤษฎีดาว (Dow theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า 'ราคาเป็นอินดิเคเตอร์ที่แม่นยำ และสะท้อนถึงข้อมูลสำคัญทั้งหมด) ดังนั้น อะไรก็ตามที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์ (Supply) และ อุปทาน (Demand) ก็จะปรากฎบนกราฟราคาเหล่านั้น

ในขณะเดียวกัน การศึกษาข้อมูลมากล้นจนเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ต่อความเคลื่อนไหวของราคา หรือข้อมูลที่วัดค่าไม่ได้ เพราะนั่นถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ และไม่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์นั่นเอง

เทรดเดอร์นักวิเคราะห์กราฟเทคนิคจะให้ความสำคัญกับ 'แนวโนม (Trend)' ที่เกิดขึ้นในตลาด โดยตลาดสามารถปรับตัวไปได้ทั้งในทิศทาง 'ขาขึ้น (Uptrend)' หรือที่เรียกว่า 'ตลาดกระทิง (Bullish market)' ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ราคาปรับตัวขึ้นสูงกว่า High เดิม และราคาปรับตัวลงต่ำกว่า Low เดิม (ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่บริเวณตำแหน่งทั้ง 2) ในขณะเดียวกัน ทิศทาง 'ขาลง (Downtrend)' หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'ตลาดหมี (Bearish market)' ซึ่งเป็นจังหวะที่ช่องว่างระหว่างตำแหน่ง high และ low มีขนาดแคบกว่า และระยะระหว่าง 2 ตำแหน่งดังกล่าวห่างกันไม่มาก เมื่อเทียบกับตลาดกระทิง

นอกจากนั้น ยังมี 'เทรนด์แนวนอน (Horizontal trend)' หรือที่เรียกกันว่า 'ตลาดที่เคลื่อนไหวในกรอบ (Ranging market)' ซึ่งเป็นจังหวะที่เหล่านักเทรดทั้งฝั่ง bull และ bear จะไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่นัก เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดไม่ได้เอื้อให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเลย ซึ่งเป็นนัยว่าทั้ง 2 ฝั่งนั้นกำลังถือไพ่เสมอกันในตลาด

เมื่อตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ นั่นหมายความว่า ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ ไม่มีฝั่งไหนโดดเด่น จึงทำให้ตลาดไม่มีเทรนด์เกิดขึ้น เพราะมันวิ่งไปวิ่งมาอย่างรวดเร็วแบบไร้ทิศทางนั่นเอง

มีการวิเคราะห์ว่า ตลาดมักเคลื่อนไหวในกรอบแคบเป็นเวลาราวๆ 60% ของช่วงเวลาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า นักเทรด forex จะต้องมีสมาธิและโฟกัสกับการเทรดให้ดีๆ เพื่อที่จะระบุและจับจังหวะเทรนด์ได้ แล้วทำกำไรจากเทรนด์เหล่านั้น!

เหตุการณ์ในอดีต

นักวิเคราะห์กราฟเทคนิคส่วนใหญ่กล่าวว่า นักเทรด หรือ นักลงทุน มักจะทำการเทรดตามรูปแบบหรือแพทเทิร์นที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว ดังนั้น พฤติกรรมการเทรดตามการคาดการณ์ความเป็นไปได้จากในอดีต ทำให้เราสามารถระบุรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้นั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีต เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ สงครามการค้า ทำให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ทิศทางของตลาดที่อาจเคลื่อนไหวในรูปแบบเดิม เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยขึ้นทั่วโลก เทรดเดอร์อาจอ้างอิงแพทเทิร์นของตลาดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลตลาดในปัจจุบัน เพื่อหาว่ารูปแบบกราฟทั้ง 2 ช่วงเวลามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร

หัวข้อนี้ได้รับการแก้ไข 1 ปี ที่ผ่านมา 2 ครั้ง โดย siripakan
อ้างอิง
หัวข้อเริ่มต้น โพสต์ : 26/12/2022 4:18 pm