เว็บบอร์ด

18 มีนาคม 2020

เว็บบอร์ด

เว็บบอร์ด แห่งนี้เป็นเพียงสื่อกลางเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้นทาง เราไม่สามารถรับผิดชอบต่อผลกำไรขาดทุนของท่านได้

การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

เกร็ดความรู้ ที่ควรรู้เกี่ยวกับ Forex

(@admin)
Noble Member

ESCALATION FACTOR หรือ "ค่า K"
คือ ตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ เปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ส่งงานในแต่ละงวด โดยมีเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
(1) จะใช้ "ค่า K" ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้รับเหมารับงานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เท่านั้น
(2) ในการทำสัญญาว่าจ้าง คู่สัญญาจะต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่า เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างถาม : "ค่า K" มีความเป็นมาอย่างไรตอบ : การนำ "ค่า K" มาใช้ เริ่มจากในช่วงปี 2516 - 2517 เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยน้ำมันและวัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กสำเร็จรูปต่างๆ ขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจก่อสร้างโดยตรงและรุนแรง ผู้รับเหมาต่างได้รับความเดือดร้อน บางรายหยุดดำเนินการ บางรายละทิ้งงาน เพราะไม่สามารถรับภาระขาดทุนได้ ขณะเดียวกัน ผู้จ้างเหมาก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้นำ "ค่า K" มาใช้ เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาให้ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย ทั้งนี้มีคณะอนุกรรมการเป็นผู้กำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข สูตร ประเภท และลักษณะงานที่เข้าข่ายสามารถขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลได้ จนถึงปี 2524 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้ "ค่า K" เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นำ "ค่า K" มาใช้อีกครั้ง เนื่องจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูง ก่อให้เกิดการลงทุนอย่างมากในธุรกิจ หลายสาขา โดยเฉพาะธุรกิจการก่อสร้าง เพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว เป็นเหตุให้วัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กเส้นขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือโดยมีมติดังกล่าว ให้ใช้ "ค่า K" มาจนถึงปัจจุบัน

ดัชนีราคาส่งออก(EXPORT PRICE INDEX)
1. ผู้ส่งออก (Exporter) คือ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสินค้าเพื่อการส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดราคาที่เสนอขาย
2. ราคาส่งออก (F.O.B.) คือราคาสินค้าซึ่งรวมค่าขนส่งจากโรงงานมาสู่ท่าเรือหรือท่าอากาศยานของ ประเทศผู้ส่งออก แต่ไม่รวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยนับจากท่าส่งออกจนถึงผู้นำเข้า
3. ดัชนีราคา (Price Index) เป็นตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลง หรือการเคลื่อนไหวของราคาจากระยะเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้เป็นเวลาฐาน
4. ดัชนีราคาส่งออก (Export Price Index) เป็นดัชนีวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าส่งออกที่ผลิตภายในประเทศและส่งออกขายยังต่างประเทศ

ดัชนีราคาผู้ผลิต( Producer Price Index : PPI )
คือ ตัวเลขที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ได้รับ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐานขอบเขตของดัชนีราคาผู้ผลิต- เป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาผลผลิต ( Output Price ) ที่มีการผลิตในประเทศ- ผู้ผลิต หมายถึง เกษตรกร และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและเหมืองแร่- ราคาที่ใช้คำนวณ เป็น ราคา ณ แหล่งผลิต หรือ ณ หน้าโรงงานไม่รวมค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม ( Value Add Tax : VAT )- เป็นการซื้อขายทั้งภายในประเทศและส่งออก แต่ไม่รวมการซื้อขายนอกระบบ และการนำเข้า

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CONSUMER PRICE INDEX)

แนวความคิดในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภคกำเนิดขึ้นจากความต้องการศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบ ครัว และการวัดระดับการครองชีพของประชากร เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น แนวความคิดพื้นฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค พัฒนามาจากแนวความคิดของดัชนี ค่าครองชีพ (COST OF LIVING INDEX) ซึ่งต้องการวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผู้บริโภคในเดือนหนึ่ง ๆ โดยยังคงรักษามาตรฐานการครองชีพตามระดับที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ภาษี คุณภาพสินค้า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ได้มีการนำดัชนีราคาผู้บริโภคให้มีปริมาณและลักษณะของสินค้าคงที่ แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น แก้ปัญหานี้โดยการกำหนดให้กลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ประชาชนใช้บริโภคคง ที่ แทนการกำหนดให้มาตรฐานการครองชีพคงที่และวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของเดือน หนึ่ง ๆ เพื่อผู้บริโภคยังคงบริโภคสินค้าและบริการอย่างเดิม ถึงแม้ดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่สามารถแทนดัชนีค่าครองชีพได้อย่างสมบูรณ์ แต่อาจกล่าวได้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวประมาณค่าดัชนีค่าครองชีพได้ดี ในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบริโภค

ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)
หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำ การผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ ผลิตภัณฑ์ในประเทศมีการจัดทำทั้งตามราคาปัจจุบันและราคาคงที่โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาตลาดของสินค้าและบริการเหล่านั้น
ขณะที่ GDP ณ ราคาคงที่คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาปีที่กำหนดเป็นปีฐานผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
(Gross National Product : GNP) คือมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง โดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็นเจ้าของ
รายได้ประชาชาติ (National Incomne : NI) คือผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนแรงงาน ผลตอบแทนจากที่ดิน ทุน และการประกอบการโดยมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ประชาชาติดังนี้
NI = GNP - ค่าเสื่อมราคา - (ภาษีทางอ้อม - เงินอุดหนุน)รายได้ต่อหัว (Per capita GNP) คำนวณจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติหารด้วยจำนวนประชากรทั้งประเทศ

1.เงินเฟ้อ
คือ ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อ ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก
ปัจจัย แรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้น ทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

2. เงินฝืด
คือ ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ภาคเศรษฐกิจการเงิน (Financial Sector)
หมาย ถึง ภาคเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมทั้งให้บริการ ด้านการเงินอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะด้านการชำระเงิน ซึ่งภาคเศรษฐกิจการเงินนี้จะประกอบไปด้วยสถาบันการเงินประเภท ต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

ทุนสำรองเงินตรา (Currency reserves)
คือ สินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ 100 % ตามหลักการที่ว่า มูลค่าของธนบัตรออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของ สินทรัพย์ทุนสำรองเงินตรา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ธนบัตรได้รับการประกันราคาให้มีค่าตามที่ระบุไว้บนหน้าธนบัตรนั้น สินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่
1. ทองคำ
2. เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ ต้องเป็นรูปเงินฝากในธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
3. หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน (2)
4. ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ที่นำส่งสมทบกองทุนการเงิน
5. ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
6. ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
7. หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ 2 หรือเป็นบาท
8. ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
หมาย ถึง เงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 มภาพันธ์ 2545 หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี

อัตราดอกเบี้ยเงินให้้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate)
เป็น อัตราดอกเบี้ยเงิน้ยืมในตลาดเงินระยะสั้น เพื่อใช้ในการปรับสภาพคล่อง ของธนาคารพาณิชย์โดยธุรกรรมอาจจะอยู่ในรูป การ้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call) หรือเป็นการ้ยืมแบบมีกำหนด ระยะเวลา (term) ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 6 เดือน ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 50-70 เป็นการ้ยืมระยะ 1 วัน (Overnight) รองลงมาเป็นการ้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call) อนึ่งถ้าเป็นการ้ยืมในตลาดระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันจะเรียกว่า Interfinance และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เรียกว่า Interfinance Rate

อัตราดอกเบี้ยเงิน้ (Lending Rate)
อัตรา ดอกเบี้ย MLR (Medium Lending Rate) หรือ (Minimum Loan Rate) หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงิน
้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจาก ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
อัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึงอัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย ์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
อัตราอัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate)หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงิน้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าราย ย่อยชั้นดี ทั้งนี้ใช้โยงเข้ากับอัตราดอกเบี้ย MLR เพื่อให้สามารถ สะท้อนระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่ กับลูกค้ารายย่อยได้ โดยบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศ ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate)
เป็น อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศทุกวันศุกร์เพื่อใช้ในการอ้างอิง สำหรับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทยในสัปดาห์ถัดไป ประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ยล่าสุดเฉลี่ยของธนาคาร พาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร ได้แก่ธนาคารงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารงศรีอยุธยา

อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate)
เป็น อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางเรียกเก็บจากสถาบันการเงินที่ให้้ยืมในวงเงิน ที่กำหนดจากฐานเงินฝากของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง โดยการให้้ยืมนี้ถือว่าเป็นแหล่ง้ยืมแหล่งสุดท้าย (lender of last resort) เมื่อมีความจำเป็นภายในระยะเวลาสั้นๆอย่างมากไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ เพื่อรองรับความผันผวนของความต้องการใช้เงินในตลาดเงินเป็นสำคัญ หรือ จากการเบิกถอนเงินฝากของประชาชนในภาวะผิดปกติโดยจะ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการชำระเงิน เป็นต้น หลักประกันดุลงบประมาณ (Budgetary Balance) หมายถึง ส่วนต่างระหว่างประมาณการรายได้และประมาณการรายจ่ายตามที่กำหนด ไว้ในเอกสารงบประมาณ ประจำปี เช่น ปีงบประมาณ 2542 ประมาณการรายได้ 800 พันล้านบาท ประมาณการรายจ่าย 825 พันล้านบาทดังนั้นดุลงบประมาณ ขาดดุล 25 พันล้านบาท

ดุลเงินสดรัฐบาล (Cash Balance)
หมาย ถึง ส่วนต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายจริงของรัฐบาล ทั้งจากเงินในและเงินนอกงบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่ง ดุลเงินสดจะเท่ากับดุลเงินในงบประมาณบวกดุลเงินนอกงบประมาณ โดย เงินในงบประมาณ หมายถึง รายได้แผ่นดินและรายจ่ายตามงบประมาณ ซึ่งรายได้ประกอบด้วย รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสินค้าและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์และรายได้อื่น ๆ ส่วนรายจ่ายประกอบด้วย รายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง หมวดค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และรายจ่ายอื่น ส่วน เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินที่ส่วนราชการมีอยู่ซึ่งไม่อยู่ในข่ายที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หรือมิใช่รายจ่ายตามงบประมาณ ซึ่งส่วนราชการจะนำเงินดังกล่าวมาฝากไว้กับกระทรวงการคลัง เช่น เงินทุนหมุนเวียน เงินฝาก เงินทดรองราชการ เงินยืม เป็นต้น

อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio)
เป็น อัตราส่วนที่ใช้วัดความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน เพื่อแสดงถึง ความมั่นคงและการสามารถรองรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราส่วนดังกล่าวตามมาตรฐานของธนาคาร เพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements : BIS) โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ บริษัทเงินทุนและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดำรงเงินกองทุนเป็นอัตรา ส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5, 8, และ 7.5 ตามลำดับ

สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Asset)
หมาย ถึง สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือสามารถเปลี่ยนเป็น เงินสดได้ง่ายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้สินทรัพย์สภาพคล่อง ที่สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องดำรง ประกอบด้วย
1. เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
2. เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์
3. หลักทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพัน ดังนี้
- หลักทรัพย์รัฐบาลไทย
- พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
- หุ้น้ พันธบัตร หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
- พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
- หุ้น้ พันธบัตรหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงินค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
- หุ้น
้ หรือพันธบัตรที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นชอบหรือที่ออกโดย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- หลักทรัพย์ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกใหม่สืบเนื่องจากโครงการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
- ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงิน ทุนหลักทรัพย์งไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดย ธนาคารงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการณ วันที่ 1 เมษายน 2542ธนาคารแห่งประเทศไทย
กำหนดหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของยอดรวมเงินฝากทุกประเภทและเงิน้ยืมจากต่างประเทศไม่เกิน 1 ปี
2. บริษัทเงินทุนและบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ร้อยละ 6 ของเงินที่ได้รับจากประชาชนและเงิน
้ยืมทุกประเภท
3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ร้อยละ 5 ของเงิน้ยืม ทั้งสิ้น
4. กิจการวิเทศธนกิจไทยและต่างประเทศ ร้อยละ 6 ของเงิน
้ยืมจาก ต่างประเทศไม่เกิน 1

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payments)
หมาย ถึง ผลสรุปของการทำธุรกรรม (economic transactions) ระหว่างผู้มีถิ่นฐาน ในประเทศ (residents) กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (nonresidents) ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ดังนั้นดุลการชำระเงินจึงเป็นการเปลี่ยน แปลง ทางเศรษฐกิจ (economic flow) ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปใช้เวลา 1 ปี โดยสะท้อนให้เห็นถึงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงสิทธิความเป็นเจ้าของ (ownership) สิทธิในการเรียกร้อง (claims) หรือภาระในการที่จะถูกเรียกร้อง (liabilities) ในตัวสินค้า บริการ รายได้ สิทธิหรือหนี้สินทางการเงินกับต่างประเทศ รวมถึงธุรกรรมประเภทการโอนและบริจาค (transfers)
ระหว่างผู้มีถิ่น ฐานในประเทศกับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศผู้มีถิ่นฐานในประเทศ (residents) หมายถึง หน่วยสถาบันซึ่งประกอบด้วยครัวเรือน และองค์กรตามกฏหมายที่มีถิ่นฐานและมีการ ดำเนินกิจกรรมหรือธุรกรรมทางเศรษฐกิจในขอบเขตของประเทศนั้นๆ อย่างชัดเจน โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปทั้งนี้ ี้ยกเว้นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานรัฐที่จัดตั้งอยู่ในประเทศ เช่น สถานทูต ฐานทัพทหาร รวมถึงนักเรียน และคนไข้ที่ พำนักอยู่ในต่างประเทศเกิน 1 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีถิ่นฐานในประเทศเดิมของตน ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (nonresidents) หมายถึง ผู้ที่มิได้มีถิ่นฐานในประเทศตามความหมายที่ได้อธิบายข้างต้น

ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account)
คือ ผลรวมสุทธิของดุลการค้า และดุลบริการ รายได้ และเงินโอน
- ดุลการค้า (Trade Balance) เป็นผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่าสินค้าออก เอฟ.โอ.บี. (ราคาที่ไม่รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้า) กับมูลค่าสินค้าเข้า ซี.ไอ.เอฟ. (ราคาที่รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้า) ที่ได้ปรับตามคำนิยามของดุลการชำระเงินแล้ว
- ดุลบริการ (Net Services)เป็น ผลต่างสุทธิที่แสดงถึงการค้าระหว่างประเทศในด้านบริการ ประกอบด้วย ค่าขนส่ง ค่าท่องเที่ยว ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของภาคทางการ ค่าสื่อสารโทรคมนาคม ค่ารับเหมาก่อสร้าง ค่ารอยัลตี้ และค่าเครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร ค่าประกันภัย เป็นต้น
ค่าขนส่ง (Transportation) ครอบ คลุมถึงการให้บริการด้านการขนส่งที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศ ให้แก่/รับจากผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ได้แก่ การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศโดยพาหนะทุกประเภท และบริการอื่น ๆ เช่น การเช่าเหมาเรือพร้อมลูกเรือ
ค่าท่องเที่ยว (Travel) หมายรวมถึง สินค้าและบริการ (รวมบริการด้านสุขภาพและการศึกษา) ที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศได้ซื้อหรือใช้บริการจากผู้มีถิ่นฐานในต่งประเทศ เพื่อธุรกิจและการบริโภคส่วนตัวในขณะที่พักอยู่ในประเทศนั้น โดยนับเเฉพาะที่มีระยะเวลาพำนักน้อย กว่า 1 ปี ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษาและคนไข้ ถือเป็นผู้เดินทางด้วย และไม่คำนึงถึงระยะเวลาการพำนัก อย่างไรก็ตาม จะไม่นับรวมผู้เดินทางที่เป็นเจ้าหน้าที่ทางการทหาร สถานทูต และแรงงานต่างประเทศ ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ภาคทางการ (Government Services n.i.e.) หมายถึง การบริการและค่าใช้จ่ายของรัฐบาล หรือองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถนับรวมกับรายการอื่น ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายของสถานทูต สถานกงสุล และหน่วยงานทางการทหาร เป็นต้น
ค่าสื่อสารโทรคมนาคม (Communication Services) หมายถึงค่าบริการเพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศกับผู้มี ถิ่นฐาน ในต่างประเทศ ประกอบด้วย โทรคมนาคม ไปรษณีย์ และบริการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร โทรเลข เคเบิล ดาวเทียม การส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ ค่าไปรษณีย์ การจ้างส่งเอกสาร และการซ่อมบำรุง ค่ารับเหมาก่อสร้าง (Construction Services) ครอบคลุมถึง บริการด้านงานโครงการก่อสร้างและโครงการติดตั้งต่าง ๆ ที่กิจการหรือบุคคลซึ่งมีถิ่นฐานในประเทศ/ต่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่นับรวมการบริการก่อสร้างดังกล่าวของกิจการในประเทศที่เป็นบริษัทในเครือ ของต่างประเทศ (Foreign Affiliate) เนื่องจากกิจการดังกล่าวถือเป็นผู้มีถิ่นฐานในประเทศนั้น
ค่ารอยัลตี้และเครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร (Royalties and License Fees) หมายถึง รายรับ (การส่งออก) และรายจ่าย (การนำเข้า) ของผู้มีถิ่นฐานในประเทศและผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ สำหรับการอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินที่ไม่สามารถจับต้องได้และมิใช่ทรัพย์สินทาง การเงินรวมทั้งการอนุญาตให้ใช้สิ่งของต้นฉบับ ได้แก่เครื่องหมายการค้าเทคนิคและากรออกแบบสิทธิในการผลิตและสัมปทาน การจำหน่ายต้นฉบับหนังสือ และภาพยนต์ที่จัดสร้างโดยผ่านสัญญาทางลิขสิทธิ์ เป็นต้น
ค่าประกันภัย (Insurance Services) การบริการประกันของกิจการที่มีถิ่นฐานในประเทศ/ต่างประเทศให้แก่ผู้มีถิ่น ฐานในต่างประเทศ/ในประเทศ ได้แก่ การประกันภัยสินค้าระหว่างการ ขนส่ง การประกันโดยตรง (เช่น การประกันชีวิต การประกันอุบัติเหตุ การประกันสุขภาพ การประกันอัคคีภัย และการประกันหนี้สินทั่วไป เป็นต้น) และการรับช่วงประกัน (Reinsurance)
ค่าบริการอื่น ๆ (Others Services) หมายถึงการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศกับผู้มีถิ่นฐานอยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ ค่าบริการในการทำหน้าที่คน กลางและค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการค้า (Merchanting and other Trade-related Services) เช่น ค่าเช่า (Operational Leasing) และค่าบริการทางเทคนิค ธุรกิจ วิชาการและอื่น ๆ

รายได้ (Income) ประกอบด้วย

(1) ผลตอบแทนการจ้างงาน(Compensation of Employees) หมายถึง รายได้ในรูปของค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน และ(2) รายได้จากการลงทุน (Investment Income) หมายถึง ผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางการเงินในต่างประเทศ ได้แก่ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนโดยตรง การลงทุนในหลักทรัพย์ และการลงทุนอื่นๆ

- เงินโอนและบริจาค (Current transfers) หมายถึง เงินบริจาค หรือเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศ (residents) ได้รับหรือโอนให้ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (nonresidents) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิทธิความเป็นเจ้าของในทรัพยากร ที่แท้จริงหรือทางการเงิน

ดุลบัญชีเงินทุน (Capital and Finance Account)
เป็น ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศ กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ โดยสินทรัพย์จะแสดงถึงสิทธิในการเรียกร้อง ขณะที่หนี้สินจะแสดงถึงภาระที่จะถูกเรียกร้อง ประกอบด้วยบัญชีทุน (Capital Account) และบัญชีการเงิน(Financial Account)
- บัญชีทุน (Capital Account) หมายถึง รายรับและรายจ่ายที่เกิดจาก
1) ธุรกรรมเคลื่อนย้ายเงินทุน (Capital Transfer) ทั้งในรูปตัวเงินและในรูปมิใช่ตัวเงิน ได้แก่ การโอนย้ายเงินทุนที่เกิดจากการซื้อขายสินทรัพย์ถาวร การโอนสิทธิในทรัพย์สินถาวร และการยกเลิกหนี้สินโดยเจ้าหนี้ และ
2) การซื้อขายทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้ เกิดการผลิต และมิใช่ทรัพย์สินทางการเงิน (Acquisition / Disposal of non-produced, non-produced, non-financial assets) หมายถึงการซื้อขายทรัพย์สินที่จับต้องได้ เช่น ที่ดิน และทรัพย์สินที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและสัญญาเช่าซื้อเฉพาะกรณีการซื้อขายที่ดิน โดยสถานทูตถือเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากเป็นการโอนความเป็นเจ้าของระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศด้วยกัน โดยให้ถือว่าผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศที่ซื้อที่ดินนั้น มีเพียงการเรียกร้องทางการเงิน (Financial Claim) ต่อผู้มีถิ่นฐานในประเทศเท่านั้น ในปัจจุบันยังไม่สามารถแยกรายการนี้ได้ โดยยังรวมอยู่ในรายการเงินโอนและบริจาคและบัญชีการเงิน
- บัญชีการเงิน (Financial Account) หมายถึงธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) การลงทุนในหลักทรัพย์(Portfolio Investment) และการลงทุนอื่น ๆ (Other Investment

การลงทุนโดยตรง (Direct Investment)
เป็น ธุรกรรมการลงทุนซึ่งมีเสถียรภาพที่ผู้ลงทุนที่มีถิ่นฐานในประเทศหนึ่งมีต่อ ธุรกิจที่มีถิ่นฐานในอีกประเทศหนึ่ง โดยผู้ลงทุนมีส่วนในการบริหารธุรกิจนั้น ๆ ทั้งที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคล และส่วนบุคคล ประกอบด้วยเงินลงทุน 3 ลักษณะคือ
: เงินลงทุนในทุนเรือนหุ้น (Equity Capital) หมายถึงการลงทุนด้วยการถือหุ้นในกิจการ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีสิทธิในการร่วมบริหารกิจการ เงิน้จากบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือ (Loans from Affiliates) ยกเว้นกรณีบริษัทเงินทุน, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ โดยจะถือเป็นเงิน้ยืม อื่น ๆ แทน
กำไรที่นำ กลับมาลงทุน (Reinvested Earnings) หมายถึง รายได้ในรูปเงินปันผลของผู้มาลงทุนโดยตรงที่สมควรได้รับตามสัดส่วนการถือ หุ้นในวิสาหกิจนั้น ๆ หรือรายได้ของสาขาที่ไม่ส่งกลับผู้ลงทุน อย่างไรก็ดี สำหรับข้อมูลที่ธปท. จัดทำขณะนี้ยังไม่รวมข้อมูลในส่วนของ กำไรที่นำกลับมาลงทุน เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เป็นการลงทุนโดยตรงจากผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นฐานะด้านหนี้สินของประเทศ เงินลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ เป็นการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศโดยคนไทย ซึ่งนับเป็นฐานะด้านสินทรัพย์ของประเทศ

เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment)

หมาย ถึง ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย ตราสารทุน (equity securities) และตราสารหนี้ (debt securities) ทั้งในรูปของพันธบัตร (bonds) ตั๋วเงิน (notes) เครื่องมือทางการเงิน(money market instruments) และตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน(financial derivatives) ทั้งนี้ ยกเว้นตราสารที่จัดเป็นการลงทุนโดยตรงและทุนสำรอง

เงินทุนอื่น ๆ (Other Investment)
ประกอบด้วยเงิน้ สินเชื่อทางการค้า เงินฝากและบัญชีลูกหนี้ และเจ้าหนี้อื่น ๆ

หนี้ต่างประเทศ (External Debt)
หมาย ถึง ยอดคงค้างหนี้สินส่วนที่ไม่ใช่ทุนเรือนหุ้นของผู้มีถิ่นฐานในประเทศก่อขึ้น กับผู้มีถิ่นในต่างประเทศ ทั้งหนี้สินที่มีดอกเบี้ย หรือไม่มีดอกเบี้ย โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนเงินต้น โดยรวมหนี้สินทุกสลเงินและทุกประเภทของการ้ยืม
หนี้ภาคทางการ หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่ภาคทางการเป็นผู้ก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ประกอบด้วยหนี้ของรัฐบาลกลาง (
้ในนามรัฐบาลไทย) หนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหนี้ของเอกชนที่รัฐบาลค้ำประกันรวมทั้งหนี้ของ ธปท.
หนี้ภาค เอกชน หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่ภาคเอกชนเป็นผู้ก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นฐานในตางประเทศ ประกอบด้วยหนี้ของภาคธุรกิจธนาคาร (ธนาคารพาณิชยและกิจการวิเทศ ธนกิจ) และภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารอาทิ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ นิติบุคคลที่ประกอบการค้า การผลิต และบุคคลธรรมดา
หนี้ระยะยาว หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่มีระยะเวลาครบกำหนดมากกว่า 1 ปี
หนี้ระยะสั้น หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่มีระยะเวลาครบกำหนดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี

เงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves, Reserves Assets)

คือ สินทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองหรือควบคุมโดยธนาคารกลางและสามารถนำ มาใช้ประโยชน์ทันทีที่จำเป็น เช่น การชดเชยการขาดดุลการชำระเงินหรือใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบาย อัตราแลกเปลี่ยน เงินสำรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ทองคำ สิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights : SDR) สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสินทรัพย์ในรูปเงินตราต่างประเทศ
[box]Modifly by admin , on Sun February 21,2010[/box]

อ้างอิง
หัวข้อเริ่มต้น โพสต์ : 21/02/2010 9:35 am
(@admin)
Noble Member


บัญชีฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment Position)

คือบัญชีที่แสดงสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศ ของแต่ละประเทศซึ่งบันทึกรายการทางการเงิน เช่น สิทธิเรียกร้องจากผู้ที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศ หนี้สินต่อผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ทองคำในทุนสำรอง และสิทธิพิเศษถอนเงิน ฐานะในการลงทุนระหว่างประเทศ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงธุรกรรมทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงของมูลค่า และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ซึ่งจะมีผลต่อระดับของสินทรัพย์และหนี้สินในช่วงระยะเวลานั้น ๆ บัญชีการลงทุนระหว่างประเทศ ประกอบด้วยรายการทางด้านสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศ ตามแบบฉบับของบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ในบัญชีดุลการชำระเงิน ซึ่งองค์ประกอบ จำแนกตามประเภทเงินทุน โดยสินทรัพย์จำแนกเป็น เงินทุนจากการลงทุนโดยตรง เงินลงทุน ในหลักทรัพย์ เงินลงทุนอื่น ๆ และเงินทุนสำรอง ด้านหนี้สินจำแนกเป็น เงินทุนจากการลงทุนโดยตรง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และเงิน ลงทุนอื่น ๆ

ดัชนีราคาสินค้าออก / ดัชนีราคาสินค้าเข้า (Export Price Index and Import Price Index)
เป็น ดัชนีที่ใช้วัดการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าออก/สินค้าเข้าโดยรวม ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ การจัดทำดัชนีราคาจะใช้ข้อมูลที่ได้จากกรมศุลกากร โดยจำแนกสินค้าออกและสินค้าเข้าเป็นรายหมวดตามการแบ่งรหัสการค้าระหว่าง ประเทศแบบมาตรฐาน (Standard International Trade Classification) ในแต่ละหมวดประกอบด้วยสินค้าต่าง ๆ ซึ่งแบ่งย่อยตามรหัสฮาร์โนไนซ์ 10 หลักเป็นมูลค่า และปริมาณ จากนั้นคำนวณราคาต่อหน่วยของสินค้า โดยนำปริมาณไปหารมูลค่าของสินค้านั้น ๆ แล้วนำรายการย่อยเหล่านั้นมาคำนวณดัชนีราคาสินค้าออก/สินค้าเข้า
โดย ใช้สูตรของ Fisher ที่เป็น Chain Index และใช้ปี 1995 เป็นปีฐาน ปัจจุบันจำนวนรายการสินค้าที่ใช้คำนวณดัชนีราคาสินค้าออกมีประมาณ 5,000รายการ ส่วนสินค้าเข้ามีประมาณ 6,000 รายการ ซึ่งครอบคลุมมูลค่าการค้ากว่าร้อยละ 90

ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)
หมาย ถึง ภาคเศรษฐกิจที่มีการผลิตสินค้าและบริการ โดยการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการ ผลิตต่าง ๆ อาทิ แรงงาน ที่ดิน และทุน มาผสมผสานหรือผ่านกระบวนการผลิต ทำให้ได้สินค้าและบริการขึ้นมา ซึ่งจะมีตลาดเป็นตัวตัดสินว่าสังคมจะ ผลิต อะไร โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไร ทั้งนี้ มีตลาดสำคัญ 2 ตลาด คือ ตลาดปัจจัยการผลิต ได้แก่ ตลาดวัตถุดิบ แรงงาน ที่ดิน และทุน และตลาดผลผลิต โดยมีผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการในการใช้ปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบเพื่อ ผลิตสินค้าและบริการ เช่น การผลิตในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing production Index )
เป็นเครื่องชี้วัดระดับการผลิตและทิศทางของภาคอุตสาหกรรม
(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ ธปท. เผยแพร่ในปัจจุบันเป็นดัชนีรายเดือนครอบคลุม 76 ประเภทอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 75.68 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสา หกรรมและจำแนกดัชนีเป็น 19 กลุ่มอุตสาหกรรม ตามการจัดการหมวดหมู่ มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (Thailand Standard Industry Classification : TSIC)
(2) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ พิจารณาคัดเลือกจากความสำคัญของมูลค่าเพิ่มรายอุตสาหกรรมต่อมูลค่าเพิ่มของ ภาคอุตสาหกรรม ปี 2543 และเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดตามการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
(3) การคัดเลือกตัวอย่างโรงงาน อาศัยกรอบจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนประกอบกิจการจากกระทรวง อุตสาหกรรมและโรงงานที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งกลุ่มโรงงานเป้าหมายเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตในอันดับต้น ๆ ของแต่ละอุตสาหกรรม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง ทั้งนี้จำนวนผู้ประกอบการที่คัดเลือกนำมาใช้ในการคำนวณดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมมีจำนวนทั้งสิ้น 439 รายสำหรับการคำนวณผลผลิตภาค อุตสาหกรรมใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยใช้ สูตร Laspeyres และ กำหนดน้ำหนักสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภทตามสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่า เพิ่มของอุตสาหกรรมรวมตามบัญชีรายได้ประชาชาติ และใชั้ปี 2543 เป็นปีฐาน อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) เป็นเครื่องชี้ระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบการผลิตจริงกับกำลังการผลิตสูงสุดของ เครื่องจักร ซึ่งสะท้อนถึงความเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของการผลิต การส่งออกและแรงกดดันต่อราคาสินค้าภายในประเทศ อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เผย แพร่ในปัจจุบันครอบคลุม 69 ประเภทอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 59.06 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม โดยแบ่งเป็น 17 หมวดอุตสาหกรรม ตามการจัดหมวดหมู่มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (Thailand Standard Industry Classification : TSIC) และได้ข้อมูลจากผู้ประกอบการ 430 ราย สำหรับการคำนวณอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมใช้วิธีกำหนดน้ำหนัก สินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภทตามสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ต่อมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรวมตามบัญชีรายได้ประชาชาติ และใชั้ปี 2543 เป็นปีฐาน

ผู้มีงานทำ ได้แก่ บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้มีงานทำ
1. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่น สำหรับผลงานที่ทำเป็นเงินสด หรือสิ่งของ หรือ
2. ไม่ได้ทำงานเลย แต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุรกิจ ไร่นาเกษตรของตนเอง ได้หยุดงานชั่วคราว เนื่องจากเจ็บป่วยหรือ บาดเจ็บ หยุดพักผ่อน สถานที่ทำงานปิด ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย นอกฤดูกาลหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่นการปิดที่ทำงานชั่วคราวโดยไม่คำนึง ว่าจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างที่ไม่ได้มาทำงานหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีกำหนดว่าภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานที่ทำงานปิดจะได้กลับมาทำงาน ณ สถานที่ทำงานนั้นอีก หรือ
3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจ หรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน หรือของสมาชิกในครัวเรือน ผู้ว่างงาน ผู้ ว่างงาน ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ทำงานใด ๆ เลยแม้แต่ 1 ชั่วโมง ไม่มีงานทำ ไม่มีธุรกิจ หรือไร่นาเกษตรของตนเองแต่พร้อมที่จะทำงาน ซึ่งหมายถึงบุคคลต่อไปนี้
1. ผู้ซึ่งหางานทำภายใน 30 วัน นับถึงวันแจงนับ
2.ผู้ ซึ่งไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย หรือไม่ได้หางานทำ เพราะคิดว่าหางานที่เหมาะสมกับตนทำไม่ได้ รอที่จะเริ่มงานใหม่ รอฤดูกาล หรือเหตุผลอื่น ๆกำลังแรงงาน
กำลังแรงงาน ได้แก่ บุคคลทุกคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีงานทำ หรือว่างงาน หรือรอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่ จะทำงานและตามปกติจะทำงานโดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในไร่นาเกษตรหรือธุรกิจซึ่ง ทำกิจกรรมตามฤดูกาลโดยมีหัวหน้าครัวเรือนหรือ สมาชิกคนอื่น ๆ ในครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ

ตอบอ้างอิง
หัวข้อเริ่มต้น โพสต์ : 02/05/2022 3:38 am