เว็บบอร์ด

18 มีนาคม 2020

เว็บบอร์ด

เว็บบอร์ด แห่งนี้เป็นเพียงสื่อกลางเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้นทาง เราไม่สามารถรับผิดชอบต่อผลกำไรขาดทุนของท่านได้

การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

USD Futures ดอลลาร์ล่วงหน้า มาแล้วครับพี่น้อง

(@admin)
Noble Member

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน สกุลเงินของแต่ละประเทศอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนแสดงความเป็นอธิปไตยของชน ชาติตนเอง แต่ละประเทศก็จะต้องมีเงินสกุลของตนเอง เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และเมื่อต้องติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ ก็จะมีธุรกรรมที่ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกัน เราจึงเห็นการประกาศอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินของแต่ละประเทศ โดยเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำมา อ้างอิง กับสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
นอกจากนี้ ค่าเงินของแต่ละประเทศยังเป็นเครื่องสะท้อนความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจของ ประเทศนั้นๆ กล่าวคือ ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแรงมักมีค่าเงินที่แข็งตามไปด้วย ในขณะที่ประเทศที่มีภาวะความอ่อนแอทางเศรษฐกิจมักจะต้องเผชิญกับการอ่อนตัว ลงของค่าเงิน ดังจะเห็นได้จากในอดีตของประเทศไทยในช่วงวิกฤตการณ์ปี 2540 ที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง แต่ในปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ปรับตัวและสามารถเผชิญกับความผันผวน ได้อย่างดี ทิศทางของเงินบาทกลับแข็งตัวขึ้นเป็นอย่างมาก จนทำให้ต้องหามาตรการบริหารค่าเงินนี้เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อบางภาค ธุรกิจ หน้าที่ของการกำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของเงินในประเทศจึงเป็นหน้าที่สำคัญ ต่อการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะมอบหมายให้กับธนาคารกลางของแต่ละประเทศในการทำหน้าที่ นี้
เงินสกุลต่างๆ ที่ใช้กันอยู่นั้นมีตัวย่อหรือสัญลักษณ์ที่เป็นชื่อเรียกเป็นอักษรภาษา อังกฤษ สองลำดับแรกเป็นชื่อประเทศและลำดับที่สามเป็นชื่อของเงินสกุลของประเทศนั้น เช่น USD (USA Dollar), GBP (Great Britain Pound), JPY (Japan Yen), SGD (Singapore Dollar), THB (Thailand Baht), IDR (Indonesia Rupiah), INR (India Rupee) เป็นต้น สัญลักษณ์นี้ใช้เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณธุรกรรมเป็นจำนวนมหาศาลในโลกทางการเงิน โดยเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อธุรกิจการส่งออกและนำเข้าของแต่ละประเทศ และธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินทั่วโลกจึงมีหน่วยงานให้บริการด้านการซื้อขาย เงินตราต่างประเทศและตราสารทางการเงินที่เกี่ยวเนื่องกับอัตราแลกเปลี่ยน โดยการทำธุรกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตลาดโอทีซี (Over the Counter) ที่แต่ละธนาคารจะพิจารณาความเสี่ยงของคู่สัญญา (Credit Risk) และดำเนินการด้านการชำระราคาด้วยตนเอง ทั้งนี้ ธนาคารและสถาบันการเงินสามารถที่จะออกแบบเครื่องมือหรือตราสารทางการเงินที่ เหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างไม่มีข้อจำกัดในตลาดโอทีซี นี้
ปัจจุบัน ตลาดอนุพันธ์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายอนุพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ อัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้นเป็นลำดับ จากจุดเริ่มต้นที่ตลาดอนุพันธ์ Chicago Mercantile Exchange (CME) ในสหรัฐอเมริกา และได้ขยายมาสู่ประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย รัสเซีย เกาหลี และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา สัญญาที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ USD Futures ที่เป็นอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของเงินสกุลท้องถิ่นกับดอลลาร์ เช่น USD เทียบกับ เงินรูปีของอินเดีย USD เทียบกับเงินรูเบิลของรัสเซีย และเมื่อตลาดพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็น Cross Currency ระหว่างเงินสกุลหลักอื่นๆ ก็จะตามมา จากสถิติปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบนอัตราแลกเปลี่ยนของตลาด อนุพันธ์ในโลกนี้ คาดว่ามีสูงถึงกว่า 2,000 ล้านสัญญา ในปี 2554 โดยส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการซื้อขายใน USD Futures ที่มีขนาดเล็ก คือ ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ต่อหนึ่งสัญญา ของผู้ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั้งในทวีปเอเชียและอเมริกาใต้
การจัดให้มีสัญญาดอลลาร์ล่วงหน้า หรือ USD Futures นั้น ตลาดอนุพันธ์ หรือ TFEX มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการสามารถมีทางเลือกในการบริหาร ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับ ดอลลาร์ จากปัจจุบันที่การใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์จะอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้ที่มี Underlying หรือมีธุรกรรมเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเท่า นั้น โดยเชื่อว่าการมีธุรกรรมในตลาด TFEX น่าจะเป็นประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน สามารถที่จะเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ หรือจากตลาด TFEX
และที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ก็คือ การดำเนินงานของตลาดอนุพันธ์นั้น มีหลักการที่สำคัญในเรื่องของการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล ความเคลื่อนไหวของราคาที่เป็น Real Time และที่เป็นสถิติต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุน ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถรับรู้และอาจตระหนักถึงความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ว่ามีความผันผวนและความไม่แน่นอน จึงน่าจะเป็นเครื่องช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ของประเทศไทย ได้เริ่มตื่นตัวในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกการแข่งขันเสรี ที่ประเทศไทยเองก็ต้องเปิดประเทศมากขึ้น ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกนั้น เราคงหลีกเลี่ยงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ แต่ถ้าเรารู้เท่าทัน และเริ่มที่จะเรียนรู้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว การมี USD Futures ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว
นอกจากนี้ ในวันที่ 3-4 มี.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น. ขอเชิญผู้ลงทุนและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับลงทุนในทองคำและน้ำมัน ร่วมงาน “TFEX Commodity Day มหกรรมลงทุน ฟิวเจอร์ส ทองคำ น้ำมัน” ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะได้พบโบรกเกอร์ที่มาร่วมออกบูธให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุน พร้อมให้บริการรับเปิดบัญชีซื้อขายและมีโปรโมชั่นมากมายภายในงานแล้ว ยังมีสัมมนาพิเศษโดยกูรูชื่อดังตลอด 2 วัน ซึ่งจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า มุมมองและทิศทางของราคาทองคำ น้ำมัน รวมถึงเทคนิคและกลยุทธ์ในการซื้อขาย
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/kesara/20120301/439157/USD-Futures-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2.html

อ้างอิง
หัวข้อเริ่มต้น โพสต์ : 11/03/2012 2:12 pm
(@admin)
Noble Member

เพิ่มเติมครับ http://www.tfex.co.th/th/products/usd-spec.html

ตอบอ้างอิง
หัวข้อเริ่มต้น โพสต์ : 02/05/2022 3:40 am