เว็บบอร์ด

18 มีนาคม 2020

เว็บบอร์ด

เว็บบอร์ด แห่งนี้เป็นเพียงสื่อกลางเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้นทาง เราไม่สามารถรับผิดชอบต่อผลกำไรขาดทุนของท่านได้

บทวิเคราะห์ข่าวประจ...
 
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

บทวิเคราะห์ข่าวประจำสัปดาห์ 26-30 มี.ค61

(@gkfxprime-th)
Estimable Member

บทวิเคราะห์ข่าวประจำสัปดาห์ 26-30 มีนา 2018
USD Fundamental

Crude Oil Inventories : 22 March 2018 (Wed) - 21.30

จะมีการประกาศตัวเลข Crude Oil Inventories ซึ่งนำมาอธิบายเป็นส่วนแรกเนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลไปตลอดทั้งนี้ ทั้งนี้มันเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงน้ำมันดิบที่มีอยู่ในคลังบริษัทเอกชน ถ้าตัวเลขคลังน้ำมันเพิ่มขึ้น แปลว่า ความต้องการน้ำมันมีน้อย นั่นจะส่งผลให้ราคาน้ำมันให้ร่วง และดอลล่าจะได้อานิสงส์คือการแข็งค่าขึ้นมา

ปัญหาจริงๆ ของตัวเลขนี้ คือ ความผันผวนของตัวเลขที่ออกมา เพราะเป็นเพียงน้ำมันที่อยู่ในคงคลังจึงอาจลดหรือเพิ่มได้ตามปริมาณการซื้อขายในเดือนนั้น ตัวเลขนี้จึงเพียงส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวในระยะสั้นหรือในบางครั้งก็ไม่ได้ส่งผลให้ค่าเงินเลย

ในส่วนนี้ จึงต้องจับตา Crude Oil Inventories ในฐานะที่ส่งผลต่ออารมณ์ในระยะสั้นๆ หรือเพียงเพื่อเฝ้าระวังความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่หากพิจารณาภาพที่ใหญ่กว่าและมีอิทธิพลที่จะส่งผลไปจนสิ้นปี 2018 คือ การข้อตกลงของทั้ง OPEC และ Non-OPEC ทีจะลดกำลังการผลิตน้ำมันไปจนถึงปลายปี 2018 และนี่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะคุมมุมมอง Global Macro ในภาพระดับ Year ของตลาด Commodity ที่จะกดดัน USD จะอ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ

GDP, Pending Home Sales : 22 March 2018 (Wed) 19.30 - 21.00

ในส่วนของตัวเลขทั้งสองจะเห็นจริงๆ แล้วประกาศออกมาวันเดียวกันกับ Cude Oil Inventories แต่อาจต้องแยกพิจารณาออกมาอีกส่วน ทั้งนี้หากอ้างอิงจากคณะกรรมการ FOMC ชี้ว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้นมาตลอดโดยเฉพาะตัวเลขที่มาจากการลงทุน หมายถึง GDP ซึ่งนั่นส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากยอดสั่งซื้อบ้านใหม่ (Pending Home Sales) อีกด้วย

และจากสัปดาห์ที่แล้วจะเห็นว่า USD อ่อนค่าลงอย่างหนักหลังจากที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเดิมทีเราเชื่อว่าน่าจะดึงดูดเงินไปที่สหรัฐฯ แต่สถาณการณ์ของสหรัฐฯ เองที่มีหนี้สาธารณะอยู่สูงจนไม่สามารถใช้คืนได้อย่างแน่นอน ประกอบกับ Fed ลดขนาดงบดุลลง การขึ้นดอกเบี้ยที่จะไปเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมทำธุรกิจยิ่งทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในสกุลเงิน USD เพราะเชื่อว่าจะยิ่งทำให้ความสามารถในการใช้หนี้ของสหรัฐฯ เป็นศูนย์ ดังนั้น ให้จับตาตัวเลข GDP, Pending Home Sales เพราะตัวเลขที่ออกมาดีจะพยุงให้ USD แข็งค่าขึ้นมาได้บ้างภายในสัปดาห์ แม้ในภาพระดับ Year จะยัง Bearish อยู่

โดยสรุปยังเชื่อว่า USD จะมีการแข็งค่าขึ้นมาบ้างในสัปดาห์และค่อยๆ กลับเข้าสู่แนวโน้มหลักในท้ายสัปดาห์

Gold Fundamental
ผลกระทบจากปัจจัยพื้นฐานของ USD ที่ทำให้นักลงทุนเข้ามาซื้อทองคำดันราคาให้ปรับตัวสูงขึ้นในหลายเดือนที่ผ่าน ทั้งนี้ทองคำในสัปดาห์อาจต้องพิจารณาความเคลื่อนไหวจากสกุลเงิน USD เป็นหลัก โดยยังเชื่อว่าความสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามจะมีอยู่ระหว่าง Gold กับ USD ในสัปดาห์

สิ่งที่ต้องกังวล คือ ปัจจัยความเสี่ยงที่เป็น Systematic Risk หรือปัจจัยกระทบจากภายนอก เนื่องจากสถาณการณ์การค้าของโลกคาดการณ์ได้ลำบากและนักลงทุนแทบจะไม่สามารถตั้งตัวได้เลย

เริ่มจาก มาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน โดย "โดนัลด์ ทรัมป์" ให้วงเงินสูงถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี โดยสิ่งที่ดูจะกำลังเป็นปัญหา คือ ทางจีนเองก็เริ่มเรียกร้องประชาคมโลกร่วมกันแสดงจุดยืนต่อต้านสงครามการค้า หากทุกประเทศร่วมกันตอบโต้ในทางการค้าอย่างรุนแรง ความตึงเครียดจะส่งผลให้นักลงทุนย้ายเงินเข้ามาใน Gold อย่างแน่นอน

AUD Fundamental

ก่อนจะไปถึงแนวโน้มของ Audusd ในสัปดาห์หน้า ต้องเกริ่นในเบื้องต้นเกี่ยวกับ "ออสซี่" ที่ได้รับผลกระทบซับซ้อนทั้งที่เป็นแรงบวกและลบจากหลายๆ ปัจจัย

ก่อนหน้านี้ "ดอลลาร์ออสเตรเลีย" รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของ USD และราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นรุนแรงในช่วงต้นเดือนมกราคม ทำให้ AUD แข็งค่าขึ้นมาด้วยมาก แต่หลังเดือนมกราคมเป็นต้นมา ในขณะที่ราคาทองคำเคลื่อนเป็นกรอบ Swing กว้างๆ สกุลเงินออสซี่กลับเริ่มเป็นแนวขาลงค่อนข้างชัดเจนแทนที่จะ Swing เป็นกรอบล้อไปกับราคาทองคำ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?

มีสิ่งที่ต้องจับตามองคือความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้ในวันอังคารที่่ 27 มีนาคม ช่วงเวลา 07.45 เนื่องจากจะมีปาฐกถาของ "Christopher Kent" ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียด้านเศรษฐกิจ ที่จะกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจของออสเตรีเลีย และแนวโน้มของดอกเบี้ยระยะสั้น

ซึ่งในส่วนนี้นักวิเคราะห์ของ GKFXPrime มองว่าจะเป็น 1 ใน 2 ของปัจจัยที่กดให้ AUDUSD อ่อนค่าลงหนักกว่าเดิมอีก เพราะทีมงานของ RBA ส่งสัญญาณมาตลอดว่าไม่ต้องการให้ AUD แข็งค่ามากเกินไป การออกมาย้ำถึงค่าเงินบ่อยๆ ทำให้ AUDUSD ถูกแรงกดดันมาตลอด เรียกว่าใช้วิธีการ "แทรกแซงตลาดด้วยคำพูด"

ปัจจัยที่สองที่ยังจะกดดัน AUDUSD ให้ยังอยู่ในขาลงเหมือนเดิม คือ มาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของ "โดนัลด์ ทรัมป์" ซึ่งนักลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ Real Sector เริ่มกังวลว่าถ้าจีนไม่สามารถค้าขายได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศออสเตรเลียด้วย เนื่องจากจีนเป็นผู้อุดหนุนสินค้ารายใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย เวลาจีนมีปัญหาจะส่งผลให้ค่าเงิน AUD อ่อนตัวตามกันไปด้วย

โดยสรุปยังเชื่อว่า AUDUSD จะไม่สามารถแข็งค่าขึ้นมาได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน โดยสามารถดิ่งลงเหวได้ลึกกว่าเดิมอีกจากปัจจัยการค้าและการแทรกแซงของธนาคารกลาง

GBP Fundamental

นับว่าทางสะดวกสำหรับนักเทรดในสัปดาห์หน้า เนื่องจากไม่มีการประกาศข่าวสำคัญของสกุลเงิน GBP ที่จะสร้างความผันผวนในระยะสั้นๆ เว้นแต่เพียงวันที่พฤหัสที่ 29 มีนาคม 2018 โดยจะมีตัวเลข GDP ประกาศออกมาในเวลา 15.30 น. ทั้งนี้เท่ากับว่ามีแนวโน้มที่สกุลเงิน GBP จะเคลื่อนไหวไปตามทิศทางอารมณ์ของนักลงทุน (Demand & Supply) มากกว่าความผันผวนจากปัจจัยสอดแทรก

จึงต้องวิเคราะห์ถึงปัจจัยพื้นฐานในภาพที่ระดับไตรมาส ซึ่งหากพิจารณาตามกราฟจะเห็นว่า GBP แข็งค่ามาตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้สร้างจุด Mark ทาง Fundamental ที่สำคัญ คือ การที่ประเทศอังกฤษและสหภาพยุโรป สามารถตกลงกันได้ว่า "Transition Period" (ระยะการเปลี่ยนผ่าน) จะยาวนาน 21 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2562 - ถึงสิ้นปี 2563 ซึ่งนั่นเป็นผลดีต่อ GBP เพราะอังกฤษมีเวลาเตรียมตัวออกจากยุโรปได้โดยไม่ "เจ็บตัว" มาก

และสิ่งที่จะยืนยันภาพการแข็งค่าของ GBP คือคำกล่าวของ "มาร์ค คาร์นีย์" ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ที่บอกว่า อังกฤษอาจต้องใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเร็วกว่าที่กำหนด ซึ่งนักวิเคราะห์ มีโอกาสมากกว่า 70% ที่ BOE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้

โดยสรุปยังเชื่อว่ามีแนวโน้มที่ GBP จะทำงานผลงานได้ดีและแข็งค่าไปตลอดทั้งสัปดาห์

JPY Fundamental

ปัจจัยพื้นฐานของสกุลเงิน Yen (JPY) ไม่มีความเด่นชัดในแง่ของแรงผลักดันที่มาจากตัวเลขเศรฐกิจ อีกทั้งในสัปดาห์หน้ายังไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะสร้างความผันผวนอย่างรุนแรงให้กับ JPY แต่การเทรด JPY ตระหนักในฐานะที่มันเป็นเครื่องที่สะท้อนสภาวะการเมืองของญี่ปุ่นและความตึงเครียดของโลก

เมื่อไม่มีปัจจัยความผันผวนจากตัวเลขเศรษฐกิจในระยะสั้น จึงไปพิจารณามุมมองของภาพที่ใหญ่และมีอิทธิพลมากกว่า ซึ่งต้องเข้าใจถึงความต้องการของ รัฐบาลญี่ปุ่นที่อยากให้ค่าเงิน JPY อ่อนค่าลง โดยเฉพาะนาย "Shinzo Abe" ที่จะโดนแรงกดดันอย่างมหาศาลจากธุรกิจส่งออกหากค่าเงินแข็งค่ามากเกินไป และส่งผลกระทบต่อคะแนนนิยม ทั้งนี้จาก COT ซึ่งรายงานการซื้อขายของนักเทรดตลอดหลายเดือน พบความผิดปกติที่ระวังราคา 101.85, 108.5 ซึ่งเกิดการเข้ามากว้านซื้อสัญญามากผิดปกติ จึงเชื่อว่าเป็นผลกระทบจากการพยายามแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)

แต่ทั้งนี้ค่าเงิน USD ที่อ่อนค่าลงมาตลอดทำให้นักลงทุนเข้ามาถือครองสกุลเงิน JPY โดยถือว่าเป็น "Safe Asset" ส่งผลให้ค่าเงินแข็งมาตลอดหลุดระดับ 108.5 ไปแล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าให้จับตามองที่ระดับ 105 ไว้ เนื่องจากหลุด JPY แข็งค่าหลุดลงมาใกล้ระดับ 100 นั่นมีแนวโน้มที่ BOJ จะกลับเข้าแทรกแซงและส่งผลให้ค่าเงินอ่อนลงอย่างรวดเร็วและอาจทำให้นักลงทุนขาดทุนมหาศาลได้

โดยสรุปยังเชื่อว่ามีแนวโน้มที่ค่าเงิน USDJPY จะร่วงไปทั้งสัปดาห์โดยอาจสามารถปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงก่อนจบสัปดาห์

ลิงค์หน้าเว็บ : http://gkfxprime.link/Homethaitalkforex
ลิงค์โปรโมชั่น: http://gkfxprime.link/bonus55thaitalkforex
รายละเอียดบิทคอยน์ http://gkfxprime.link/bitcoinline

[box]Modifly by GKFXPrime TH , on Wed March 28,2018[/box]

อ้างอิง
หัวข้อเริ่มต้น โพสต์ : 28/03/2018 1:29 pm