เว็บบอร์ด

18 มีนาคม 2020

เว็บบอร์ด

เว็บบอร์ด แห่งนี้เป็นเพียงสื่อกลางเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้นทาง เราไม่สามารถรับผิดชอบต่อผลกำไรขาดทุนของท่านได้

การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คืออะไร?

(@siripakan)
Estimable Member

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คืออะไร?

ในโลกของการลงทุนในตลาดการเงิน 'ความรู้คืออาวุธ' ยิ่งถ้าเป็นความรู้เรื่องการวิเคราะห์ "ข้อมูลเชิงคุณภาพ" ที่สามารถระบุถึงอนาคต ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้นๆ ข้อมูลที่ลึกซึ้งและไม่สามารถวัดได้จาก "ราคา" เพียงอย่างเดียว ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก

ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ชี้ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้นๆ เป็นตัวกำหนด Demand & Supply ที่แท้จริงในตลาด และเราสามารถเข้าใจมันได้ผ่านหลักการที่เรียกว่า "การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน" (Fundamental Analysis) โดยคุณจะได้เรียนรู้หัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

Fundamental Analysis คืออะไร

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ วิธีการประเมินเพื่อหามูลค่าที่แท้จริงหรือเหมาะสมของสินทรัพย์ทางการเงินหนึ่งๆ โดยการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงคุณภาพ รวมถึงตัวแปรเชิงปริมาณอื่นที่ "ไม่ใช่ราคา" เช่น ข้อมูลงบการเงิน, อัตราส่วนกำไร, ตัวเลขเงินเฟ้อ เป็นต้น

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ การที่เราสามารถประเมินมูลค่าที่ควรจะเป็นได้ และเราก็จะบอกได้ว่า ราคาของสินทรัพย์นั้นๆ "แพงเกินไป" หรือ "ถูกเกินไป" ซึ่งมันนำไปสู่กลยุทธ์ที่แตกต่าง เช่น ถ้าราคาแพงเกินไป นักลงทุนอาจเลือกที่จะทยอยขายหุ้นออกมา หรือใช้วิธีการ Short Sell ค่าเงินแบบที่ 'จอร์จ โซรอส' เคยทำก็ได้

สิ่งที่ต้องตระหนักเสมอคือ Fundamental Analysis เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวแปรที่หลากหลาย และสินทรัพย์ที่แตกต่างกันก็จะต้องวิเคราะห์ในตัวแปรที่แตกต่างกัน เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex เราจะเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ, นโยบายทางการเงิน ฯลฯ แต่ถ้าเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้น เราจะเน้นวิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์งบการเงิน เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตลาด Forex

ตลาด Forex คือการแลกเปลี่ยนซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ ราคาของสกุลเงินเราเรียกว่า "อัตราแลกเปลี่ยน" ซึ่งความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนและไม่ได้อ้างอิงกับผลกำไรของบริษัทใดบริษัทหนึ่งอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้น แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้

หลักการวิเคราะห์ข่าว

คุณอาจจะสังเกตได้ว่าจากมุมมองของเทรดเดอร์ Forex ทั่ว ๆ ไป รายงานข่าวต่าง ๆ คือตัวแปรที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นก็เพราะว่ามีอินดิเคเตอร์ที่เป็นตัวบ่งชี้ด้านเศรษฐกิจอยู่หลายตัวด้วยกันที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจใช้ในการจับตามองสภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากอินดิเคเตอร์เหล่านี้สามารถบ่งชี้สภาพของเศรษฐกิจได้นั่นเอง

อินดิเคเตอร์เหล่านี้จะพบได้ในรายงานข่าวและการเผยแพร่ข่าว ข่าวบางชิ้นจะถูกรายงานแบบรายสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรายงานข่าวรายเดือนหรือราย 3 เดือน คุณสามารถติดตามการประกาศข่าวต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงอัพเดตข้อมูลใด ๆ ในตลาดได้ผ่านทางปฏิทิน Forex 

อินดิเคเตอร์ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์หรือสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ได้ อาทิเช่น

อัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยถือเป็นอินดิเคเตอร์หรือตัวบ่งชี้สำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเลยก็ว่าได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยก็มีหลายชนิดด้วยกัน แต่ในที่นี้เราจะเน้นไปที่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดหรือระบุไว้ (Nominal interest rate) หรืออัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (Base interest rate) ที่กำหนดโดยธนาคารกลาง เนื่องจากธนาคารเป็นผู้ผลิตเงินขึ้นมา และธนาคารเอกชนก็จะทำการกู้ยืมเงินนั้นจากธนาคารกลางนั่นเอง สัดส่วนหรือเงินต้นที่ธนาคารเอกชนจ่ายให้กับธนาคารกลางเพื่อกู้ยืมสกุลเงินนั้นเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (Base interest rate) หรืออัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ (Nominal interest rate) เมื่อคุณได้ยินศัพท์ 'อัตราดอกเบี้ย' เมื่อไหร่ ให้นึกไว้เลยว่าหมายถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว

  • การควบคุมอัตราดอกเบี้ย ถือเป็นส่วนสำคัญของนโยบายการเงินหรือนโยบายการคลังของประเทศ โดยเป็นหนึ่งในฟันเฟืองหลักของธนาคารกลาง อัตราดอกเบี้ยถือเป็นตัววัดระดับเศรษฐกิจที่สำคัญมาก โดยอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจยิ่งกว่าตัวแปรอื่น ๆ และยังมีอิทธิพลกับค่าสกุลเงินด้วย นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่ออัตราเงินเฟ้อ, การลงทุน, การค้าขาย, การผลิต และอัตราว่างงานอีกด้วย

เงินเฟ้อ

การประกาศเกี่ยวกับเงินเฟ้อจะรายงานในเรื่องการเปลี่ยนแปลงหรือการขึ้นลงของราคาสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง คุณควรทราบไว้ว่าในทุกระบบเศรษฐกิจจะมีระดับที่เรียกว่า 'เงินเฟ้อที่ดี' ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโต กระแสเงินที่หมุนเวียนในเศรษฐกิจก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วย และนี่ก็คือสิ่งที่เรียกว่าเงินเฟ้อนั่นเอง จุดสำคัญก็คือรัฐบาลและธนาคารกลางจะต้องปรับอัตราเงินเฟ้อให้มีความสมดุลและอยู่ในระดับที่กำหนดไว้

ภาวะเงินเฟ้อมากเกินไปจะทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างอุปสงค์และอุปทาน โดยจะมีอุปทานมากกว่า ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนตัวลงเนื่องจากมีปริมาณเงินมากกว่าอุปสงค์ที่มีอยู่ ในทางกลับกันหรือที่เรียกว่าภาวะเงินฝืด เงินจะแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการจะถูกลง

GDP

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นตัววัดมูลค่าสินค้าและบริการที่ประเทศหนึ่ง ๆ ผลิตขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง มีความเชื่อว่า GDP คืออินดิเคเตอร์หรือตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหนึ่ง ๆ ได้ดีที่สุด ซึ่งอาจฟังดูแปลกอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ GDP เป็นเพียงแค่การวัดมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการเพียงเท่านั้น โดยไม่ได้มีอุปสงค์ของสินค้าและบริการนั้น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย

หากจะให้กล่าวตามตรงแล้ว การที่จะประเมินค่าเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลได้นั้นจะต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน จึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกนักที่จะยึดเอา GDP มาเป็นตัวบ่งชี้ทั้งอุปสงค์และอุปทานในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของตัวเลข GDP แต่ปริมาณความต้องการหรืออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงแสดงให้เห็นว่านี่ไม่ได้หมายถึงเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งเลยสักนิดในมุมมองของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex

อัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อ และ GDP เป็น 3 อินดิเคเตอร์ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex อินดิเคเตอร์ทั้งสามตัวนี้มีความสำคัญมากเพราะมีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเทียบกับตัวแปรอื่น ๆ อย่างเช่น ยอดขายปลีก, เงินทุนหมุนเวียน, ดุลการค้า, ราคาพันธบัตร รวมถึงปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคและภูมิรัฐศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนี้ อินดิเคเตอร์ด้านเศรษฐกิจไม่เพียงแต่แสดงค่าที่ขัดแย้งกันได้เท่านั้น แต่อินดิเคเตอร์บางตัวยังสัมพันธ์กันแบบข้ามส่วนข้ามแขนงกันด้วย

การทำความเข้าใจว่ามีข้อมูลทางเศรษฐกิจมากมายที่มีอิทธิพลต่อทิศทางตลาด Forex เป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่ายังไง คุณก็ต้องเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex เพื่อใช้ในกลยุทธ์เทคนิคการเทรดของคุณสำหรับช่วยคาดการณ์ทิศทางของตลาด

 

อ้างอิง
หัวข้อเริ่มต้น โพสต์ : 27/12/2022 4:22 pm